การตรวจประเมิน จุดอ่อน จุดแข็ง ในการทำกิจกรรม TPM

Group of construction workers/builders with tools and blank flagลายองค์กรนำกิจกรรม TPM เข้าไปใช้ในองค์กรแล้ว แต่ประสบปัญหาว่าไม่สามารถทำให้กิจกรรมเติบโตได้อย่างเข้มแข็ง ทั้งที่คณะทำงานก็มีความรู้ความเข้าใจในกิจกรรมเป็นอย่างดี

จากประสบการณ์ของการให้คำปรึกษามานานปี จึงพบว่า ปัญหาในการทำกิจกรรมแล้วกิจกรรมไม่เติบโต ไม่ฝังรากลงไปในการทำงานก็เกิดขึ้นจากปัญหาบางอย่างที่ซ้อนอยู่ภายใน เช่น ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนของพนักงาน การขาดการเชื่อมโยงของการทำงานกับ TPM การขาดระบบในการติดตามงานที่ดี ทัศนคติของพนักงานที่มีต่อกิจกรรม ความสัมพันธ์ระหว่างช่างกับฝ่ายผลิต ความไม่เข้าใจในระบบการตรวจประเมิน หรือการให้รางวัล ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอุปสรรคในการทำกิจกรรมทั้งสิ้น

ทางบริษัทฯ จึงได้ออกแบบ วิธีการตรวจประเมินจุดอ่อนจุดแข็งของการทำ TPM เพื่อใช้ในการประเมินการทำกิจกรรม TPM เพื่อให้ผู้บริหารองค์กรทราบถึงปัญหาและอุปสรรคในการทำ TPM และแนวทางในการแก้ไข เพื่อทำให้กิจกรรม TPM สามารถเจริญเติบโตในองค์กรได้อย่างมั่นคง

ขั้นตอนการตรวจประเมินจุดแข็ง จุดอ่อน ในการทำกิจกรรม TPM

  1. กรอกแบบฟอร์มข้อมูลเบื้องต้น เพื่อการตรวจประเมินจุดแข็งจุดอ่อน ในการทำกิจกรรม TPM
  2. TPMthai จัดส่งเจ้าหน้าที่และที่ปรึกษาเข้าไปสัมภาษณ์ผู้บริหาร เพื่อรับทราบและตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น หมายขององค์กรหรือของกลุ่ม
  3. TPMthai จัดส่งกรอบการทำงานให้องค์กรเพื่อพิจารณาแนวทางการตรวจประเมินจุดแข็งจุดอ่อน ให้กับทางองค์กรพิจารณาเห็นชอบและอนุมัติดำเนินการ (ขั้นตอนนี้ไม่เสียค่าใช้จ่าย)
  4. TPMthai จัดทำแบบสอบถาม แบบทดสอบ แบบสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่าง ประชากร เพื่อทำการ ประเมินจุดแข็ง จุดอ่อนในการทำกิจกรรม TPM ให้องค์กรพิจารณาและปรับปรุงแก้ไข
  5. TPMthai ทำการสำรวจ สัมภาษณ์ ตามที่กำหนด
  6. TPMthai จัดทำรายงานจุดแข็ง จุดอ่อน ในการทำกิจกรรม TPM ให้กับผู้บริหารพร้อมทำเสนอแนวทางและ แผนการแก้ไขให้กับองค์กร เพื่อดำเนินการแก้ไขต่อไป
  7.  TPMthai ทำการตรวจประเมินซ้ำถึงผลการแก้ไขที่ไดเสนอไปว่าสามารถแก้ไขปัญหาในการทำ กิจกรรมได้หรือไม่อีกครั้ง (ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนเพิ่มเติม ตามที่องค์กรต้องการ)

การตรวจประเมินการดำเนินการ TPM ทั้งระบบ

ในการทำกิจกรรม TPM หลายองค์กรต้องการทราบว่า องค์กรของตนเองนั้นสามารถทำกิจกรรม TPM นี้ได้ดีมากน้อยเพียงใด มีเรื่องใดที่ต้องปรับปรุงบบ้าง ทาง TPMthai จึงจัดทำการตรวจประเมินการดำเนินการ TPM ทั้งระบบขึ้น เพื่อช่วยให้องค์กรทราบถึงความคืบหน้าในการทำกิจกรรมของตนเอง ซึ่งการตรวจประเมินการดำเนินการ TPM ทั้งระบบนี้มีขั้นตอนดังนี้

  1. กรอกแบบฟอร์มข้อมูลเบื้องต้นเพื่อการตรวจประเมิน TPM ทั้งระบบ
  2. TPMthai จัดส่งที่ปรึกษาและเจ้าหน้าที่ เข้ารับทราบความต้องการในการตรวจประเมิน
  3. องค์กรจัดส่งรายงานการดำเนินการกิจกรรม TPM เพื่อให้ที่ปรึกษาพิจารณา
  4. นัดวันเข้าทำการตรวจประเมิน
  5. ที่ปรึกษาทำการตรวจประเมิน พร้อมให้คะแนนและแจ้งผลการประเมินเบื้องต้นให้องค์กรรับทราบ
  6. ที่ปรึกษาจัดส่งรายงานการตรวจประเมินให้องค์กรทราบภายใน 30 วันนับจากวันที่ตรวจประเมิน

การตรวจประเมินย่อยแยกเสาหลักต่างๆ

บางองค์กรมีการดำเนินการกิจกรรม TPM ไม่ครบทั้งระบบ เป็นเพียงการนำกิจกรรมบางส่วนของ TPM มาใช้ในการทำงานเท่านั้น แต่องค์กรก็ยังต้องการทราบว่าการดำเนินการที่ทำอยู่นั้น ถูกต้องและเป็นไปตามขั้นตอนหรือแนวคิดของกิจกรรมนั้นๆ หรือไม่

  1. กรอกแบบฟอร์ม การขอรับการตรวจประเมินย่อย
  2. ทาง TPMthai ตรวจสอบความต้องการ ซึ่งอาจจัดส่งเจ้าหน้าที่พร้อมที่ปรึกษาเข้าพบที่องค์กร
  3. นัดวันตรวจประเมิน
  4. ที่ปรึกษาทำการตรวจประเมินตามวันที่กำหนด
  5. ที่ปรึกษาแจ้งคะแนนการตรวจประเมินพร้อมทข้อเสนอแนะให้กับองค์กร
  6. ที่ปรึกษาจัดส่งรายงานให้กับองค์กรภายใน 30 วันนับจากวันตรวจประเมิน