ในปัจจุบันนี้วิธีการการประเมินผลการปฏิบัติงานมีมากมายหลายวิธี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการนำวิธีการนั้นๆ มาจากต่างประเทศแทบทั้งสิ้น คำถามที่น่าสนใจก็คือ “วิธีการที่เรานำมาใช้นั้น เหมาะสมกับงานที่ทำ เหมาะสมกับองค์กร เหมาะสมกับวัฒนธรรมของเราหรือไม่” หลายองค์กรใช้การประเมินแบบ 360 องศา แต่ผลที่ออกมาจากการประเมินนั้นกลับไม่สามารถสะท้อนประสิทธิภาพการทำงานของบุคคลคนนั้นได้จริง ทั้งนี้เป็นเพราะเราเพียงลอกเอาวิธีการของเขามาใช้ แต่ไม่ได้นำมาประยุกต์ให้เขากับงาน องค์กรและวัฒนธรรมของเรานั่นเอง หลักสูตรนี้จึงเป็นหลักสูตรที่จะอธิบายให้ท่านเข้าใจแนวคิด หลักการ ในการประเมินผลการปฏิบัติงาน การสร้างเกณฑ์ที่ใช้ประเมิน และการเลือกวิธีการประเมิน เพื่อให้ท่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับวิธีการที่ท่านมีอยู่เดิมให้เหมาะสมกับงาน กับองค์กรและวัฒนธรรมของท่านมากขึ้น

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ทราบถึงหลักการของการประเมินผลการปฏิบัติงาน
2. เพื่อให้ทราบความสัมพันธ์ระหว่างเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินกับผลการปฏิบัติงาน
3. เพื่อทราบวิธีการการพยากรณ์ผลการปฏิบัติการจากเกณฑ์ที่กำหนด
4. เพื่อให้ทราบวิธีการที่ใช้ในการประเมินแบบต่างๆ
5. เพื่อให้ทราบข้อเด่น ข้อด้อย ของวิธีการประเมินผลแบบต่างๆ

หัวข้อการสัมมนา
วันแรก

  1. ความหมายของการประเมินผลการปฏิบัติงาน
  2. ความจำเป็นในการประเมินผลการปฏิบัติงาน
  3. ความเชื่อมโยงของงานกับการประเมินผลการปฏิบัติงาน (Job analysis vs. Job Evaluation)
  4. ความน่าเชื่อถือของการประเมินผลการปฏิบัติงาน
  5. การสร้างเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงาน
  6. ปัญหาและอุปสรรคของการประเมินผลการปฏิบัติงาน
  7. ใครคือผู้ประเมินผลการปฏิบัติงาน : ข้อดีและข้อเสีย
  8. ลักษณะของความลำเอียงในการประเมินผลการปฏิบัติงาน
  9. รูปแบบการประเมินผลการปฏิบัติงานแบบต่างๆ : ข้อดีและข้อเสีย
    • Rating (Self, Peer, Mutual, Multiple)
    • การประเมิน 360 องศา
    • Assessment Center
    • BARS, BES, BOS

วิธีการสัมมนา : การบรรยาย อภิปราย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมสัมมนา : ผุ้บริหารระดับสูง, ผู้จัดการฝ่ายบุคคล,
ระยะเวลาสัมมนา : 1 วัน
วิทยากร : อาจารย์ บรรณวิท มณีเนตร