จิตวิทยากับการเพิ่มผลผลิต

บทความโดย : อ.บรรณวิท  มณีเนตร

วันที่ 2 ธันวาคม 2553

 

มีการทดลองอันหนึ่งที่ง่ายแต่สุดคลาสสิคอยู่อันหนึ่ง คือ

ผู้ทดลองให้ผู้เข้ารับการทดลอง จุ่มมือลงในน้ำเย็น 15 องศา ทิ้งไว้สักครู่ แล้วให้นำมือออกมา

จุ่มในน้ำเย็น 18 องศา ทันที แล้วให้ผู้เข้ารับการทดลอง ประมาณว่า “อุณหภูมิน้ำเป็นเท่าไร”

ผู้เข้ารับการทดลองทุกคนจะบอกกว่าน้ำเย็นนี้ “ไม่แตกต่างกัน“

ในทางตรงข้าม

ผู้ทดลองได้ให้ผู้เข้ารับการทดลอง จุ่มมือลงในน้ำเย็น15 องศาเหมือนเดิม ทิ้งไว้สักครู่

แล้วให้นำมือออกมาจุ่มในน้ำอุ่นที่ 30 องศาทันที แล้วให้ผู้เข้ารับการทดลอง ประมาณว่า

“อุณหภูมิน้ำอุ่นนี้เป็นเท่าไร?” ผู้เข้ารับการทดลองทุกคนจะบอกกว่าน้ำอุ่นนี้ “เป็นน้ำร้อน“ และทุกคนจะบอกว่า

“ร้อนมากกว่า 30 องศาด้วย”  ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?

 

โดยปกติแล้ว การรับรู้ของคนเราจะเกิดขึ้นในลักษณะของการเปรียบเทียบเสมอ เมื่อเราจุ่มมือในน้ำเย็น

แล้วลงไปจุ่มในน้ำเย็นที่เย็นกว่าเล็กน้อยเราจะบอกว่าน้ำนี้เย็นเท่ากัน ไม่แตกต่างกันทั้งที่จริงแล้วแตกต่าง เรา

เรียกว่าการรับรู้เหมือนกัน หรือ Perception Assimilation

ในขณะที่ถ้าเราเอามือที่จุ่มน้ำเย็นแล้วมาจุ่มในน้ำร้อน เราจะรู้สึกว่าน้ำนี้ร้อนมากและร้อนมากกว่าที่

เป็นด้วยซ้ำเราเรียกการรับรู้แบบนี้ว่า การรับรู้ตรงข้ามหรือ Perception contrast

การรับรู้สองอย่างนี้ทำให้เราเกิดการตีความสิ่งภายนอกออกมาแตกต่างได้อย่างมากมาย เช่นถ้าเรา

ไม่เคยเห็น iPod มาก่อน ไม่เคยได้ยินอะไรเกี่ยวกันมันเลย เมื่อเราเห็นมันครั้งแรกเราก็จะบอกว่า “นี่มันอะไร”

เนื่องจากเราไม่รู้จักมันมาก่อน เราจะตีค่าของมันไม่ได้ ต่อมาเมื่อเรารู้ว่ามันคือ เครื่องเล่นเพลง เราก็จะเกิด

การรับรู้เปรียบเทียบกับเครื่องเล่นเพลงที่เราเคยรู้จักมาในอดีต ถ้าเราพบว่ามันเล็กกว่า เสียงดีกว่า เราก็จะ

รู้สึกว่ามันแตกต่างและจะรู้สึกว่ามันดีและดีเกินกว่าที่เป็นจริงหรือเกิด Perception Contrast และเราก็จะให้ค่า

ของ iPod ว่ามีค่ามากกว่าของเครื่องเล่นเดิม แต่ถ้าเราเคยพบเครื่องเล่นที่เล่นได้คล้ายๆ iPod มาก่อน

เราก็จะบอกว่าไม่เห็นต่างกันเลยเกิด Perception Assimilation ซึ่งค่าของ iPod ก็จะไม่แตกต่างจากของที่เรา

เคยรู้มาก่อน

การรับสองอย่างนี้ทำให้เราเกิดปรากฏการณ์ต่างๆ มากมาย เช่น

เมื่อก่อนนี้ทุกครั้งที่มีข่าวคนงานเหมืองที่จีน ตายเพราะเหมืองถล่ม เราบอกว่า “อาชีพนี้เสี่ยงตายลูกเดียว”

ทุกครั้งที่เหมืองถล่มก็เป็นแบบนี้ เพราะฉะนั้นเราจะรับรู้ว่า เหมืองที่ไหนก็เหมือนกันถล่มแล้วตายหมดเกิด

Perception Assimilation

แต่เมื่อเหมืองที่ชิลีถล่ม และสามารถช่วยคนงานออกมาได้ 32 คน เราก็เกิดการรับรู้ใหม่ว่า “เหมืองถล่ม

รอดก็ได้นี่” การรับรู้ใหม่ที่ต่างจากของเดิมอย่างมากหรือ Perception Contrast การช่วยเหลือคนงานเหมือง

ที่ชิลีจึงเป็นเรื่องที่มหัศจรรย์อย่างมาก รัฐบาลชิลีเขาช่วยเหลือเต็มที่เลย เขาดีจริงๆ (และเราก็ตีความว่าดีเกินจริง)

ตอนนี้เหมืองที่นิวซีแลนด์ถล่ม รัฐบาลนิวซีแลนด์ถึงลำบากอยู่ว่าจะทำอย่างไร เพราะทั่วโลกจับตามองและ

เกิดความคาดหวังว่าต้องเหมือนกับที่ชิลี

&nb
sp;จะเห็นว่าแค่การรับรู้ของคนเรานี้ก็สร้างปัญหาให้มากมายแล้ว

ลองมาดูสิ่งใกล้ตัวบ้าง

ถ้าเราเป็นผู้ขายสินค้าและเราต้องการจะจะลดราคาของสินค้าของเราลง เราต้องลดราคาให้มากๆ จน

ลูกค้ารู้สึกได้ว่าราคานั้นลดลงเยอะจริงๆ เช่น ติดป้ายว่าลด 40% ลูกค้าจะรู้สึกว่าราคานี้ถูกมากๆ หรือ

ถูกเกินจริง แล้วเกิดการตัดสินใจซื้อ (เราเองก็เสร็จทุกทีที่เจอป้ายลด 40% ทั้งที่จริงเราไม่เคยรู้มาก่อนว่า

ราคาเดิมเป็นเท่าไร)

แต่ถ้าเราจะขึ้นราคาสินค้าล่ะ

เราก็ต้องขึ้นที่ละน้อยๆ แต่ขึ้นหลายๆ ครั้ง อย่าให้ลูกค้ารู้สึกว่าราคาครั้งนี้ต่างจากครั้งก่อนและทำหลายๆครั้ง

ราคาสุดท้ายก็จะเป็นราคาที่เราต้องการเอง

ในการทำงานของเราล่ะ เป็นอย่างไร

ถ้าเราต้องการทำให้กิจกรรม TPM ของเราประสบความสำเร็จ เราก็สามารถทำได้โดยการ

1. ทำโปรโมชั่นเพื่อแนะนำ TPM ว่าดีอย่างไร เอาให้เห็นให้ได้ว่าดีมากๆ ไม่ว่าจะเป็น โปสเตอร์ที่แรงๆ

การทำพื้นที่ตัวอย่างให้โดดเด่น ให้เกิด Perception Contrast

2. จัดอบรมให้ความรู้ถึงกิจกรรม TPM หรือกิจกรรมอื่นๆ ให้พูดถึงข้อดีให้มากๆ ข้อเสียก็มีคือ “เราจะทำงาน

โดยให้สมองมากขึ้น เหนื่อยกายน้อยลง” ให้คนฟังเกิดความสับสนจากการรับรู้ในมุมมองที่แตกต่างออกไป

3. จัดประกวด ให้รางวัลพื้นที่ที่ประกวด โดยจัดการมอบรางวัลที่โรงอาหาร เชิญพนักงานทุกคนมาร่วม

มอบรางวัลที่เป็นเงินและโล่หรือใบประกาศ (ต้องมีโล่หรือใบประกาศด้วย) เรียกชื่อพนักงานให้ชัดเจน

ทั้งหัวหน้ากลุ่ม และสมาชิกในพื้นที่นั้นๆ ต้องให้เห็นว่าต่างจากรูปแบบเดิมๆ

4. ถ้าทำได้ให้จัดพาไปดูงานที่โรงงานอื่นๆ เพื่อให้เกิดการรับรู้แตกต่างหรือ Perception contrast ว่าถ้า

ทำแล้วจะเป็นแบบนี้นะ (เลือกสถานที่ให้ดีๆ แล้วกัน)

5. ในพื้นที่ใดก็แล้วแต่ ถ้ามีการปรับปรุงเกิดขึ้น ถึงแม้นจะเป็นเรื่องเล็กๆ ก็ตาม ต้องแสดงให้คนอื่นๆ รับรู้

อย่าให้เกิด Perception Assimilation ว่าทำแล้วก็เหมือนๆ เดิม

คราวหน้า ผมจะมาแนะนำเทคนิคการให้รางวัลในการส่งเสริมกิจกรรมการเพิ่มผลผลิต

เพื่อให้ฮิตติดใจคนในองค์กร