จิตวิทยากับการเพิ่มผลผลิต ตอนที่4 “อยากให้เลิกทำ ทำอย่างไร!!”

บทความโดย : อ.บรรณวิท  มณีเนตร

วันที่ 31 มกราคม 2554

 

ในครั้งก่อนได้กล่าวถึงการให้รางวัลเพื่อเสริมให้เกิดพฤติกรรมที่ต้องการ ทีนี้ถ้าเราอยากจะลด

พฤติกรรมเราจะประยุกต์ใช้หลักการของรางวัลได้อย่างไร

จากบทความที่แล้ว ผมได้กล่าวถึง การทำเฉยๆ เมื่อเด็กหยิบของส่งให้ นี่ก็เป็นวิธีการหนึ่งในการ

ที่จะทำให้เลิกการทำพฤติกรรม หลักการคือ ทำอะไรแล้วไม่ให้ผลทั้งในทางบวกหรือทางลบ จะทำให้

คนทำเห็นว่าไม่เห็นได้อะไรเลย ไม่ทำดีกว่า ลองนึกถึงตอนที่มีคนมาล้อเลียนเรา

ถ้าเราโกรธ คนที่มาล้อจะชอบใจ ถ้าเราอยากให้เขาเลิกล้อก็ต้องทำเฉยไปเรื่อยๆ จนคนล้อเหนื่อย

แล้วเลิกไปเอง แต่การทำเฉยนี้เราต้องหนักแน่น อดทน เพราะต้องให้เวลาในการทำเฉยจนคน

ทำพฤติกรรมเลิกเขาไปเอง นี่คือวิธีการที่เรียกว่า Extinction แต่ถ้าต้องการให้เขาเลิกพฤติกรรมโดย

การเฉยเสียก็ต้องให้แน่ใจว่าเราจะเฉยได้ในทุกครั้งที่เขาทำพฤติกรรมนี้ ไม่ใช่เฉยบ้างไม่เฉยบ้าง

พฤติกรรมนี้ก็จะไม่เลิก เพราะคนทำเขาไม่รู้ว่าเราจะเฉยหรือเราจะไม่เฉยกันแน่ แต่กลับจะยิ่งทำให้

มีพฤติกรรมากขึ้น ถ้าเมื่อวานนี้เขาแหย่แล้วเราเฉย วันนี้แหย่แล้วเราโกรธ คนแหย่จะรู้ว่าแหย่แล้ว

มีโกรธเป็นบางวันนี่ งั้นลองดูซิว่าแหย่อย่างไรถึงจะโกรธ กลับกลายเป็นแหย่มากกว่าเดิมอีก ระวังให้ดี

วิธีต่อมาที่จะให้เลิกพฤติกรรมที่ไม่ต้องการคือการลงโทษ (วิธีนี้หัวหน้างานชอบให้กับมาก มันง่าย)

เช่น ถ้าพนักงานมาสาย เราก็ลงโทษด้วยการตัดเงินเดือน มาสายบ่อยครั้งก็ทำหนังสือเตือน ฯลฯ ซึ่ง

วิธีการลงโทษนี้ บริษัทส่วนมากมีข้อกำหนดในการใช้ที่ชัดเจนอยู่แล้ว

วิธีต่อมาคือ การถอนบางอย่างออกไปจากเขา หรือถอนสิทธิบางอย่างออกไป อันนี้โรงงานมีใช้

กันมากคือการให้เบี้ยขยัน ถ้าไม่มาสาย ไม่ขาดงาน เราก็ให้เบี้ยขยัน เพื่อมาสายเราก็ตัดสิทธิตัวนี้ออก

เป็นการถอนสิ่งที่เขามีอยู่ออกไปเพื่อไม่ให้เขาทำพฤติกรรมมาสายอีก

แต่การลงโทษเมื่อจะนำมาใช้ก็ต้องระวัง เช่นเดียวกันกับการให้รางวัลเช่น ถ้าพนักงานมาสาย

บ่อยๆ แล้วหัวหน้าเรียกเข้ามาเตือนในห้อง บทสนทนาอาจเป็นว่า

“เอ้า… เข้ามา เข้ามา นั่งก่อน” หัวหน้าเริ่มเปิดฉาก “ช่วงนี้คุณมาสายบ่อยจัง มีปัญหาอะไร

หรือเปล่า”

“คือช่วงนี้ผมเดือนร้อน เมียไม่สบาย ผมจึงต้องไปส่งลูกก่อนแล้วมาทำงานจึงสายไปหน่อยครับ”

ลูกน้องโอด

“เหรอ แล้วเมียคุณเป็นอะไรมากไหม” หัวหน้าถาม

“ไม่มากครับ อีกสักพักก็คงออกจากโรงพยาบาลแล้ว แต่ค่าใช้จ่ายนี่คงต้องเป็นหนี้อีกนาน”

“ถ้าเดือนร้อนอะไรทีหลังก็บอกนะ ไม่เป็นไร อย่าสายบ่อยแล้วกัน” หัวหน้าเตือน

“ครับหัวหน้า” ลูกน้องทำตัวรีบ “งั้นผมขอตัวนะครับ”

จากบทสนทนาข้างต้น ท่านคิดว่าหัวหน้ากำลังลงโทษหรือกำลังให้รางวัลกับพฤติกรรมาสายนี้?

จะเห็นว่าการมาสายกลายเป็นว่า ไม่ได้รับการลงโทษแต่เป็นการได้รางวัลคือ การได้คุยกับหัวหน้า

ให้หัวหน้าเห็นใจ คุณคิดว่าพฤติกรรมการมาสายจะลดลงไหม?
แล้วพนักงานคนอื่นๆ จะทำตามไหม?

ประเด็นที่ต้องระวังคือ การลงโทษ หรือเลือกใช้การถอนสิทธิ ก็ต้องพิจารณาในมุมมองของคนรับ

ว่า เขาตีความว่า ถูกลงโทษหรือถูกถอนสิทธิหรือไม่เช่น ถ้าไม่ไปเลือกตั้งจะถูกตัดสิทธิในการลงสมัคร

รับเลือกตั้ง คนรับเขาบอกว่าไม่ได้เล่นการเมืองนี่ การถอนสิทธินี้ไม่เกี่ยวกับเขา ไม่มีค่ากับเขา ไม่ได้ลง

เลือกตั้งก็ไม่เป็นไรเลย มันจึงไม่ใช่การถอนสิทธิ

หรือพนักงานไม่ส่งเรื่องการทำไคเซนหรือข้อเสนอในการปรับปรุงงานแล้วถูกลงโทษ โดยการให้

หยุดงานหนึ่งวันโดยไม่จ่ายค่าแรง พนักงานบางคนบอกว่า ดี เพราะแค่ค่าแรงวันเดียวไม่เห็นเป็นไร

จะได้ไปเที่ยว ตกลงเป็นการลงโทษใช่หรือไม่ การลงโทษหรือการให้รางวัลจึงต้องมีเทคนิค

สัปดาห์หน้าจะขอกล่าวถึง เทคนิคการลงโทษว่า เราจะทำอย่างไรจึงจะได้ผลและไม่เกิดผลข้างเคียง