บทความโดย : อ.บรรณวิท  มณีเนตร

วันที่ 6 พฤศจิกายน 2552

 

โครงการติวเข้ม TPM Facilitator 

ตอนที่ 2 นักทฤษฏีที่การเน้นปฏิบัติ

 

ในปี 1995 โอแลดเดอร์และโทรเจอเซน (Olander & Thogersen) ได้นำเสนอรูปของการแสดงพฤติกรรมของมนุษย์ว่า เกิดขึ้นจากการประกอบ 3 ปัจจัย คือ ความสามารถในการแสดงพฤติกรรม แรงจูงใจในการพฤติกรรม และโอกาสในการแสดงพฤติกรรมนั้น โดยนำเสนอสมการว่า

  พฤติกรรม = ความสามารถในการแสดงพฤติกรรม x แรงจูงใจในการพฤติกรรม x โอกาสในการแสดงพฤติกรรม

                 หรือ           Behavior = Ability x Motivation x Opportunity

          จากแนวคิดนี้ พฤติกรรมจะเกิดขึ้นได้ก็จาก

1.     ผู้ที่จะทำพฤติกรรมต้องมีความสามารถในการที่จะทำพฤติกรรมนั้น เช่น เราต้องสามารถขับรถเราจึงจะแสดงพฤติกรรมการขับรถออกมา

2.     ผู้ที่จะทำพฤติกรรมต้องมีแรงจูงใจในการทำพฤติกรรมนั้นๆ เช่น เราต้องมีแรงจูงใจมีความอยากที่จะขับรถ เราจึงจะแสดงพฤติกรรมการขับรถออกมา และ

3.     ผู้ที่จะทำพฤติกรรมต้องมีโอกาสที่จะแสงดพฤติกรรมนั้นๆ เช่น เราต้องโอกาสในการขับรถเราถึงจะแสดงพฤติกรรมการขับรถออกมา

4.     จากแนวคิดนี้จะเห็นว่าใน สมการของ โอแลนเดอร์และโทรเจอเซนเป็นการคูณกัน นั่นหมายความว่า จะขาดซึ่งปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งไปไม่ได้ หากมีความสามารถ มีแรงจูงใจแต่ถ้าไม่มีโอกาส พฤติกรรมการขับรถของเราก็ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้

Facilitator

                 แนวคิดนี้เป็นแนวคิดหนึ่งในหลายแนวคิดที่เหล่า TPM Facilitator ต้องจำไว้ให้ขึ้นใจ เพราะในที่เราจะเอื้อให้        เกิดการทำกิจกรรม TPM นั้น เราต้องคิดเสมอว่า บุคคลคนนั้นมีความสามารถที่จะทำกิจกรรมนั้นหรือไม่ เช่นจะให้            พนักงานฝ่ายผลิตทำกิจกรรม Autonomous Maintenance นั้น

                         1. พนักงานมีความสามารถที่จะทำ มีความเข้าใจในการทำ AM หรือไม่ หากไม่มีก็ต้องมีการอบรมสร้าง ความรู้ให้กับพนักงานคนนั้นๆ อย่าคิดเอาเองว่าเขาคงรู้แล้ว

                        2. เราต้องสร้างแรงจูงใจให้พนักงานนั้นเขาอยากที่จะทำ AM ด้วยการอำนวยความสะดวกในการทำจัด เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมจัดหาเครื่องเขียนห้องทำงานที่จะทำกิจกรรมให้เกิดขึ้น และ

                        3. เราต้องสร้างโอกาสให้พนักงานทำ AM ด้วยเช่น ต้องมีเวลาในการเข้าไปทำความสะอาด ตรวจสอบ เครื่องจักร มีโอกาสที่จะได้นำเสนอผลงานต่อหน้าผู้บริหารด้วย

                       หน้าที่ของ TPM Facilitator จึงไม่ใช่เพียงแค่ประสานงานเท่านั้น แต่ต้องคิดถึงปัจจัยทั้งสามอย่างนี้อยู่ เสมอเพื่อให้กิจกรรม TPM เดินทางไปได้ด้วยดีตรงตามตารางเวลาที่กำหนดและพนักงานเต็มใจทำกิจกรรม

                     นี้เป็นเพียงหนึ่งในหลายเทคนิคที่ TPM Facilitator จะได้เรียนจากโครงการ ติวเข้ม TPM Facilitator ทั้ง ทฤษฏีและปฏิบัติรวมถึงการโค้ชแบบตัวต่อตัวจากที่ปรึกษาอาชีพที่ทำด้าน TPM โดยเฉพาะ