ไก่เกิดก่อนไข่ หรือ ไข่เกิดก่อนไก่
บทความโดย : อ.บรรณวิท มณีเนตร
วันที่ 6 พฤศจิกายน 2552
ท่านเคยถูกกล่าวหาว่า
“ทำไม แผนการซ่อมบำรุงก็มี ทำตามแผนก็แล้ว เครื่องจักรก็ยังเสียอยู่ดี” หรือ
“งบประมาณการซ่อมบำรุงก็เพิ่มทุกปี แต่ไม่เห็นได้อะไรกลับมาเลย”
ผู้ที่อยู่ในส่วนงานซ่อมบำรุงทั้งหลายส่วนมากก็จะได้รับคำปรามาสเช่นนี้เสมอ และก็ได้แต่กลุ้มใจไม่รู้ว่า
จะจัดการอย่างไรดี
“ก็เครื่องที่เคยเสีย มันก็ไม่เสียแล้ว เครื่องที่เสียอยู่ตอนนี้มันก็ไม่เคยเสียมาก่อน” หรือ
“งานซ่อมก็มี งาน PM ก็มี งานซ่อมก็มาก่อน PM ก็ไม่มีเวลาทำ ช่างก็น้อย แล้วเครื่องมันจะไม่เสียได้อย่างไร”
ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาคลาสสิกของทุกโรงงาน (เป็นปัญหาเหมือนกับการดำเนินการกิจกรรมต่างๆ เช่น 5ส
พอ Order เยอะ ก็ไม่มีเวลาทำ พอ Order น้อย ก็ไม่มีงบจะทำ อย่างนี้ก็ไม่ได้ทำสักที)
งานซ่อมบำรุงก็เช่นเดียวกัน พอไม่มี Order ช่างก็ว่างเพราะคิดว่างานของตนคือ งานซ่อม งานทำ PM ไม่ใช่งานหลัก
ถ้าคิดอย่างนี้ก็บอกได้เลยว่าคิดผิด งานช่างที่ดีคืองานที่ต้องคิดว่าจะทำอย่างไรให้เครื่องจักรไม่เสีย โดย
ใช้งบประมาณที่น้อยที่สุด
การที่บอกว่าเครื่องจักรไม่เสียไม่ได้หมายความว่าเครื่องจักรทุกเครื่องต้อง ไม่เสีย แต่เราต้องมองภาพรวมของทั้ง
โรงงานแล้วจึงวางงานบำรุงรักษาได้อย่างถูกต้อง
การจัดการงานซ่อมบำรุง ถ้ามองแบบภาพใหญ่ก็ต้องถามว่า เครื่องจักรในโรงงานของเรามีเครื่องเดียวหรือไม่
ถ้าคำตอบคือไม่ ถ้าอย่างนั้นเครื่องจักรตัวไหนสำคัญควรได้รับการดูแลอย่างดี เครื่องจักรไหนสำคัญน้อยหน่อย
ก็ได้รับการดูแลน้อยลง เครื่องจักรไหนที่ไม่ค่อยสำคัญก็ดูแลให้น้อยลงไปอีก
หมายความว่าถ้าเครื่องจักรที่สำคัญส่งผลกระทบต่อสายการผลิตหลายสายการผลิต เสียทีนึงก็ใช้เวลาในการซ่อม
นานเสียหายต่อการผลิตอย่างมาก อย่างนี้ก็ต้อง PM กันอย่างเต็มที่
ดังนั้นท่านต้องรู้ก่อนว่าทั้งโรงงานของท่านเครื่องจักรใดสำคัญเครื่องจักรใดไม่สำคัญ เครื่องสำคัญดูแลมาก
จัดงาน PM ลงไปให้ดีๆ เครื่องพวกนี้เสียไม่ได้
เราลองมองให้ลึกลงไปอีกที เครื่องจักรที่เราคิดว่าสำคัญนั้น จะประกอบไปด้วยอุปกรณ์ ชิ้นส่วนมากมาย นำมา
ประกอบรวมกันและให้แต่ละชิ้นทำงานให้ทำตามหน้าที่ตามจังหวะที่มันควร เป็น การที่เครื่องจักรของเราเสีย
หมายความว่าชิ้นส่วนทุกชิ้นเสียพร้อมๆ กันใช่หรือไม่ ?
ถ้าคำตอบคือ ไม่ใช่
งั้นถามใหม่ ชิ้นส่วนแต่ละชิ้นเมื่อเสีย จะส่งผลให้เครื่องจักรเสียใช่หรือไม่ ?
ถ้าคำตอบคือ ไม่ใช่อีก
นั่นหมายความว่า ชิ้นส่วนแต่ละชิ้นก็มีความสำคัญไม่เท่ากันทั้งหมดใช่หรือไม่ ?
ถ้าคำตอบคือ ใช่
แล้วท่านจะจัดการมันอย่างไร??