Autonomous Maintenance ช่วยลด Breakdown ได้อย่างไร?

บทความโดย อาจารย์บรรณวิท  มณีเนตร

วันที่ 13 พฤษภาคม 2554

 

มีคนถามผมว่า 

 “AM หรือ Autonomous Maintenance ช่วยลด Breakdown ได้อย่างไร”

         ก่อนที่จะตอบคำถามนี้ คงต้องเข้าใจในทางทฤษฎีก่อนว่า เครื่องจักรนั้นประกอบไปด้วย

ชิ้นส่วนต่างๆ มากมายหลายชิ้น ซึ่งแต่ละชิ้นก็มีอายุการใช้งานของมันเอง หรือที่ทางพุทธเรียกว่า 

อนิจจัง คือมันไม่เที่ยง มันไม่คงอยู่ไปตลอดกาล มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป นั่นเอง

          การที่เครื่องจักรเสียก็เพราะว่ามันไม่อนิจจัง คือมันเสื่อมสภาพ ซึ่งเป็นธรรมชาติของสิ่งต่างๆ 

บนโลกนี้ ที่นี้เราบอกว่าไม่อยากให้มีการเสื่อมสภาพ ก็เท่ากับว่าเรากำลังฝืนธรรมชาติ ซึ่งในทางวิศวกรรม

เราถือว่า เมื่อไรก็ตามที่เราฝืนธรรมชาติเราต้องใส่แรง ใส่ความพยายาม ลงไป นั่นคือเราต้องเข้าไป

บำรุงรักษามัน เพื่อไม่ให้มันเสื่อม

          แต่การบำรุงรักษาแบ่งได้เป็น 2 อย่าง ตามคนที่ทำหน้าที่คือ บำรุงรักษาโดยคนใช้หรือ 

Autonomous Maintenance กับ บำรุงรักษาโดยผู้เชี่ยวชาญหรือ Planned Maintenance

          ตัวอย่างที่เห็นกันชัดๆ ก็คือ ร่างกายของเราเราอาบน้ำ เราแปรงฟัน ทุกวัน ในขณะเดียวกัน 

ทุก 6 เดือน เราก็ต้องไปให้หมอตรวจฟัน ขูดหินปูน นั่นคือเราให้หมอทำ Planned Maintenance ในขณะที่

เราไปหาหมอเพื่อตรวจฟัน หมอก็จะถามว่ามีปัญหาอะไรอย่างอื่นไหม จะได้ตรวจเสียทีเดียว เราก็ต้อง

บอกหมอว่าเสียวฟันซี่ไหม บนหรือล่าง เสียวอย่างไร ปวดด้วยไหม?

          ลองนึกภาพถ้าเราไม่แปรงฟันสัก 6 เดือน ฟันเราจะเป็นอย่างไร คงไม่สวยเท่าไร ฟันคงจะผุ

อย่างรวดเร็ว นั่นหมายความว่า การที่เราไม่ทำความสะอาดนั้นย่อมจะก่อให้เกิดการเสื่อมสภาพ

ที่เร็วกว่าที่ควรจะเป็นหรือที่เรียกว่า การเร่งการเสื่อมสภาพ หน้าที่ของเราก็คือการแปรงฟันเพื่อไม่ให้ฟันผุ 

ตรวจสอบฟันของเราเอง ว่ามีสิ่งผิดปกติหรือไม่ และรายงานหรือแจ้งการเสื่อมสภาพที่พบให้กับหมอ 

เพื่อทำการแก้ไขได้อย่างถูกต้อง และการทำเช่นนี้เราทำด้วยตัวเองไม่มีใครบังคับ นั่นคือเรากำลังทำ 

Autonomous Maintenance อยู่

         หรืออาจกล่าวได้ว่าการทำ Autonomous Maintenance มีหน้าที่

               1. รักษาสภาพพื้นฐานของฟันที่ดี

               2. ตรวจสอบสภาพของฟันอยู่เสมอ

               3. แยกแยะการเสื่อมสภาพของฟันให้ถูกว่าเสี่ยวอย่างไร ปวดตอนไหน

               4. แก้ไขการเสื่อมสภาพง่ายๆ เช่นใช้ยาบ้วนปากแก้เสียวฟันเป็นต้น และ

               5. รายงานการเสื่อมสภาพของฟันให้หมอทราบ

          เครื่องจักรของเราก็เช่นเดียวกัน หน้าที่ของผู้ใช้เครื่องคือ

               1. รักษาการเสื่อมสภาพของเครื่องจักรให้ดี

               2. ตรวจสอบการเสื่อมสภาพอยู่เสมอ

               3. แยกแยะการเสื่อมสภาพให้ชัดเจน

               4. แก้ไขการเสื่อสภาพที่ง่ายๆ

               5. รายงานการเสื่อมสภาพกับช่าง เพื่อตรวจซ่อมอย่างถูกต้อง

          การขาดซึ่งการทำ Autonomous Maintenance ที่ดีจึงเป็นการเร่งให้เครื่องจักรนั้นเสื่อมสภาพ

เร็วกว่าที่ควรจะเป็น ส่งผลให้แผนการบำรุงรักษาที่วางไว้ไม่สามารถใช้งานได้ การทำการบำรุงรักษาที่ดี 

จึงต้องมีทั้ง Planned Maintenance และ Autonomous Maintenance คู่กัน เพื่อช่วยส่งเสริมซึ่งกันและกัน 

ดั่งคำที่ว่า

          “รวมกันเราอยู่ แยกกันอยู่ตายที่ละคน”