Industrial Selling Skill  

บทความโดย : อาจารย์ วิศาล จันทร์สิทธิพงศ์

วันที่ 1 มีนาคม  2555

 

          Sales Engineer หรือ วิศวกรขาย ก็เรียกได้ว่า อาชีพเซลล์แมนเหมือนกัน เพียงแต่อาจจะต้องมีทักษะในการขายสินค้าอุตสาหกรรมมากกว่า 3 คำถามมาตรฐานที่เซลล์แมนทั่วไปใช้ในบางตลาด คำถาม 3 คำ ดังกล่าว คือ มีของไหม ราคาเท่าไหร่ แล้วส่งของได้เมื่อไหร่ หากเราเคยเรียนการตลาดพื้นฐานเรื่อง 4 P's ที่มี Product Price Place Promotion โดยที่ Promotion ก็จะย่อยไปเป็น Advertising, Public Relation, Sales Promotion and Personal Selling จะเห็นได้ว่า สินค้า Consumer product จะเน้น Advertising, Public Relation, Sales Promotion ในขณะที่ Industrial Product หัวใจของการขายจะเน้นที่ Personal Selling นั่นก็คือ Sales Engineer หรือ วิศวกรขายนั่นเอง เพราะหากลูกค้าจะซื้อเครื่องจักรสักเครื่อง ย่อมไม่ตัดสินใจจาก ใบโฆษณา การลดแลกแจก แถม หรือ การออกประชาสัมพันธ์ เป็นหลัก แต่การตัดสินใจจะมาจาก การได้พูดคุย ปรึกษากับวิศวกรขายที่สามารถชี้ให้เห็นประโยชน์ และรายละเอียดในการตัดสินใจ รวมถึงการทำงบประมาณในการซ่อมบำรุง จนถึงการวางแนวทางในการเปลี่ยนเครื่องจักรใหม่ในระยะยาว สิ่งเหล่านี้ จะเกิดขึ้นได้โดยผ่านสิ่งมีชีวิตที่เราเรียกตัวเราว่า วิศวกรขาย เท่านั้น ดังนั้น ความสำเร็จมากกว่าครึ่งหนึ่งของสินค้าอุตสาหกรรม จึงอยู่ในมือของวิศวกรขาย ขึ้นอยู่กับทักษะที่ วิศวกรขาย ได้ฝึกอบรมมาและนำไปใช้ในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นทักษะเกี่ยวกับ 

 

       1. ความเข้าใจความหมาย Feature, Function และ Benefit ว่าแตกต่างกันและทำงานอย่างไร

       2. ความสามารถในการหาจุดขายเอกลักษณ์และจุดเหนือคู่แข่ง

       3. การเจรจาต่อรองในการเสนอทางแก้ไขให้ลูกค้าได้ และ ยังสามมารถรักษาผลประโยชน์ขององค์กรได้

       4. การต่อยอดหลังการขายเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนทั้งในด้านการรักษาลูกค้าให้คงอยู่ พร้อมทั้งเพิ่มมูลค่าธุรกิจให้เพิ่มขึ้นตลอดเวลา

       5. อื่น ๆ อีกมากมายที่ควรทำ และไม่ควรทำ

           สินค้าตัวเดียวกันอยู่ในมือ วิศวกรขาย 2 คนย่อมส่งให้เกิดผลลัพธ์ที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง ขึ้นอยู่กับ พื้นฐานนิสัยของตัววิศวกรขาย ความรู้ที่เคยมีอยู่ ความรู้ที่ต้องเพิ่มเติมพัฒนาให้อีก รวมถึงทัศนะคติในการทำงานและดำเนินชีวิต 

       การเรียนรู้ด้วยตนเองหรือการศึกษาจากประสบการณ์ของผู้อื่นก็เป็นอีกหนึ่งทาง ที่จะช่วยสร้างความสำเร็จในอนาคตของทั้งตัวองค์กรและวิศวกร เพียงแค่พรสวรรค์อย่างเดียวนั้นน้อยเกินไปสำหรับการแข่งขันในปัจจุบันที่ทุกอย่างต้องถูกต้องและ ทันเวลา