Training
Related Posts
Kaizen and QCC
Kaizen and QCC กิจกรรมการปรับปรุงงาน ก่อนจะเข้าไปสู่ว่าการทำ Kaizen นั้นเป็นอย่างไร ขอให้ทำความเข้าใจกับลักษณะของการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงก่อน การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงมี 2 ลักษณะด้วยกันคือ 1. การปรับปรุงเพื่อแก้ไขปัญหา เช่นเราต้องการผลิตชิ้นงานให้ได้ 100 ชิ้นต่อวัน ซึ่งเป็นเป้าหมายที่เราทำได้มาตลอดแต่ปัจจุบันทำได้ที่ 89 ชิ้นต่อวัน นั้นคือสภาพการณ์ได้เบี่ยงเบนไปจากที่เราเคยทำได้ ซึ่งเขียนเป็นแผนภาพได้ดังนี้ 2. การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงจากสภาพที่ดีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น เช่นเราต้องการผลิตชิ้นงานให้ได้ 105 ชิ้นต่อวัน จากปกติที่เราทำได้ 100 ชิ้นต่อวัน การปรับปรุงนี้จะเป็นการปรับปรุงเพื่อเพิ่มเป้าหมายที่ต้องการให้มากขึ้น ซึ่งเขียนเป็นแผนภาพได้ดังนี้ เมื่อเราทราบว่าลักษณะของปัญหามี 2 แบบตามลักษณะการเบี่ยงเบน ในขณะเดียวกันเราก็สามารถแบ่งปัญหาออกเป็น 3 ประเภทตามลักษณะของสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาคือ 1. ปัญหาที่ขึ้นจากสาเหตุเพียงอย่างเดียว เช่น เราเดินหกล้มเนื่องจากเตะสายไฟฟ้าที่เขาเอามาไว้ชั่วคราวในระหว่างซ่อมเครื่องอยู่ สาเหตุของการล้มคือเตะสายไฟที่เขามาวางไว้ ปัญหาในรูปแบบนี้เป็นปัญหาที่เราเห็นการเกิดต่อตาของเราเอง เป็นปัญหาที่ง่ายๆไม่ซับซ้อนอะไร 2. ปัญหาที่เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เพียงแต่ว่าแต่ละสาเหตุไม่เกี่ยวข้องกัน เช่น เราเข้าห้องน้ำพบวว่าก๊อกน้ำที่อ่างล้างหน้ามีน้ำหยด อยู่ การที่น้ำหยดออกจากก๊อกนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น a. การปิดน้ำไปสนิท b. แรงดันน้ำเกินกว่าที่กำหนด c. ซีลของก๊อกน้ำขาด d. ก๊อกน้ำมีสิ่งสกปรกเข้าไปอุดตัน ซึ่งสาเหตุเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำหยดที่ก๊อกน้ำทั้งสิ้น เพียงแต่ว่าแต่ละสาเหตุเป็นสาเหตุที่ไม่เกี่ยวข้องกันเลย 3. ปัญหาที่เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ และแต่ละสาเหตุเกี่ยวข้องกัน เช่น ปัญหาเงินเฟ้อ ปัญหาการว่างงานของบัณฑิตจบใหม่เป็นต้น เราอาจเขียนแผนภาพของปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งสามรูปแบบได้ดังนี้ และในอีกมุมมองหนึ่งเราก็สามารถแบ่งปัญหาออกได้เป็น 2 แบบตามลักษณะของความรุนแรงและความถี่ที่เกิดขึ้นคือ 1. Sporadic Problem หรือ ปัญหาที่เกิดขึ้นแบบเป็นครั้งคราว ปัญหาในลักษณะนี้จะเกิดขึ้นเป็นครั้งๆ นานๆ เกิดขึ้นทีหนึ่ง แต่เมื่อเกิดขึ้นแต่ละครั้งจะสร้างความเสียหายมากมาย 2. Chronic Problem หรือปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่เป็นประจำ เกิดขึ้นซ้ำ เป็นปัญหาที่เรื้อรัง แต่ไม่ได้สร้างความมเสียหายมากมายนัก เราสามารถเขียนเป็นกราฟได้รูปล่างนี้ จากลักษณะที่กล่าวมาข้างต้นเราสามารถจัดกลุ่มของปัญหาได้ว่า 1. กลุ่มปัญหาที่เบี่ยงเบนไปจากที่ควรจะเป็น มี 3 ประเภทแบ่งตามสาเหตุของปัญหา และใน 3 ประเภทของปัญหานั้นปัญหาในรูป แบบที่ 1 และ 2 จะเป็นรูปแบบ Sporadic Problem ส่วนแบบที่ 3 จะเป็นลักษณะ Chronic Problem ซึ่งเราสามารถเขียนเป็น แผนภาพได้ดังนี้ 2. กลุ่มปัญหาประเภทต้องการเปลี่ยนแปลงจากสภาพที่ดีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ ซึ่งกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มพิเศษที่จะกล่าวต่อไปในตอนท้ายของบทความนี้ เมื่อปัญหามีหลายรูปแบบ เราคงต้องเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหา ถ้าปัญหาเป็นปัญหาที่ง่าย ก็เลือกใช้เครื่องมือที่ง่าย ถ้าปัญหาเป็นปัญหาที่ซับซ้อนก็เลือกใช้เครื่องมือที่ยากเพื่อแก้ไขปัญหา เครื่องมือที่ใช้ในการแก้ไขปัญหามีหลายเครื่องมือด้วยกัน เริ่มจากเครื่องมือตัวที่ง่ายที่สุดก็คือ 1. ข้อเสนอแนะหรือ Suggestions หลักการของการทำข้อเสนอแนะก็เพื่อให้พนักงานได้ช่วยออกความเห็นในการแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยเสนอความเห็นได้อย่างอิสระ เพื่อให้ได้แนวทางใหม่ๆ ในการแก้ไขปัญหา ด้วยหลักการนี้พนักงานที่เสนอไม่จำเป็นต้องอยู่ในหน่วยงานที่เกิดปัญหาก็ได้ ไม่ต้องลงมือปฏิบัติก็ได้ เพียงแต่มีความเห็นในการแก้ไขปัญหาเท่านั้นถือว่าใช้ได้ จึงถือว่าเป็นเครื่องมือที่ง่ายที่สุดในแง่ของผู้ปฏิบัติเพราะเสนอความเห็นเพียงอย่างเดียวไม่ต้องลงมือทำ 2. การปรับปรุงงาน หรือ Kaizen อันที่จริงแล้ว Kaizen เป็นภาษาญี่ปุ่น ซึ่งมาจากคำ Kai ที่แปลว่า ”เปลี่ยนแปลง”... Read more →
ISO14001:2004
Training ความเข้าใจ การนำใช้ ข้อกำหนด ISO14001:2004 ความเข้าใจ การนำใช้ ข้อกำหนด ISO14001:2004 สำหรับระดับหัวหน้างาน การควบคุมระบบบริหารงานสิ่งแวดล้อม ISO14001:2004 เข้ากับระบบบริหารงานคุณภาพ ISO9001:2008 หรือ ISO/TS16949:2002 Read more →
Factory Digest Magazine Vol.3
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านทุกท่าน Factory Digest ฉบับนี้ ก็เป็นฉบับที่ 3 แล้ว ที่เราได้พบกันทุก 2 เดือน หวังว่าทุกท่านคงจะสบายดี ผ่านหน้าฝนมาได้อย่างสุขภาพดีกันทุกคน ฉบับนี้เนื้อหาเรายังคงอ่านสบายๆ เพลินๆ ตามเดิม ด้วยเรื่องของการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันด้วยแนวคิดใหม่ๆ ซึ่งแปลกแต่น่าสนใจ เทคนิคการจัดการความปลอดภัยที่นำไปใช้ได้จริง ซึ่งจะทราบถึงความสำคัญของความปลอดภัยกับผลผลิตไดัด้วย เรื่องของการบริหารร่างกาย เพื่อหนีจากอาการกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรังที่เราๆท่านๆ คนทำงานออฟฟิศเป็นกันบ่อย รวมถึงเรื่องของการจัดการความรู้แบบใหม่ที่ง่ายต่อทั้งคนเรียน คนสอนและคนบันทึกด้วยระบบ One Point Lesson และสุดท้ายด้วยเรื่องการจัดการบำรุงรักษาด้วยเทคนิคของ SMED กองบรรณาธิการ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า Factory Digest ฉบับนี้จะทำให้ท่านผู้อ่านได้รับความรู้และนำเอาไปใช้งานได้อย่างเต็มที่ Click เพื่ออ่านต่อ Factory Digest Magazine Vol.3 บรรณวิท มณีเนตร 23/10/2558 Read more →
Six Sigma
Training การประยุกต์ใช้การควบคุมกระบวนการทางสถิติ การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องโดยการประสานเครื่องมือ Lean, 6Sigma กับ ISO9001:2008 และ ISO/TS16949 การจัดสร้างระบบการผลิตแบบไหลอย่างต่อเนื่องด้วย DMAIC การนำใช้ระบบ 5 ส ในองค์กรและการควบคุมด้วยสายตาด้วยเทคนิค DMAIC Read more →