ปัจจุบันนี้เครื่องจักรมีบทบาทในการทำงานมากขึ้นกว่าในสมัยก่อน เนื่องจากเราสามารถผลิตเครื่องจักรที่สลับซับซ้อนมากขึ้นเพื่อมาใช้แทนแรงงานคน คุณภาพของสินค้าที่ผลิตออกมาจะดีหรือไม่จึงขึ้นกับเครื่องจักรมากกว่าคน ดังนั้นบทบาทของการควบคุมคุณภาพจึงเปลี่ยนไป จากเดิมที่เราต้องพึ่งพาคนเพื่อทำงานให้มีความระมัดระวังมากขึ้นกลายเป็นต้องดูแลให้เครื่องจักรมีความแม่นยำมากขึ้นแทน แต่เครื่องจักรประกอบไปด้วยส่วนประกอบหรืออุปกรณ์มากมาย ดังนั้นการบำรุงรักษาทุกอุปกรณ์ให้มีความแม่นยำจึงไม่ใช่เรื่องที่เหมาะสม การจัดการบำรุงรักษาที่ดีที่ถูกต้องให้ชิ้นส่วนของเครื่องจักรที่มีผลต่อคุณภาพให้มีความแม่นยำจึงเป็นสิ่งที่น่าทำมากกว่า เทคนิคของการจัดการคุณภาพโดยการจัดการบำรุงรักษาที่ชิ้นส่วนที่มีผลกระทบต่อคุณภาพหรือ Quality Maintenance จึงเข้ามารับผิดชอบในการณ์นี้

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้เข้าใจความหมายของ Quality Maintenance
  2. เพื่อให้ทราบความสัมพันธ์ระหว่างชิ้นส่วนกับคุณภาพ
  3. เพื่อทราบขั้นตอนการดำเนินการ Quality Maintenance

หัวข้ออบรม

  1. Zero Defect เกิดขึ้นได้อย่างไร
  2. Maintenance – Improvement Circle
  3. ความหมายของ Quality Maintenance
  4. ขั้นตอนของการทำ Quality Maintenance
    • จัดทำ QA Matrix
      • ชนิดของ Defect, Defect Mode
      • Process, Machine, Component and Quality Characteristic
    • ตรวจสอบสภาพปัจจุบันของอุปกรณ์ต่างๆ ดำเนินการแก้ไข (4M Survey)
      • Product input Condition analysis table
      • Problem Chart
    • การวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา
      • ประเมินความสำคัญของปัญหา (FMEA1)
      • จัดทำ PM Analysis
      • ประเมินแนวทางแก้ไข (FMEA2)
    • ดำเนินการแก้ไขปรับปรุง
    • ทบทวนผลการดำเนินการ
      • Product input Condition analysis table (Review)
    • จัดทำมาตรฐานของอุปกรณ์
      • Quality Checkpoints

รูปแบบการฝึกอบรม : บรรยายและ Workshop
คุณสมบัติผู้เข้ารับอบรม : ผู้จัดการ หัวหน้างาน
ระยะเวลาการอบรม : 2 วัน
วิทยากร : อ.บรรณวิท มณีเนตร
หมายเหตุ : ผู้เข้าอบรมต้องมีความรู้เรื่อง 5W+1H, 5G, Why-Why analysis และ PM Analysis เป็นอย่างดี รวมทั้งควรผ่าน AM และ PM Step3