จิตวิทยากับการเพิ่มผลผลิต ตอนที่3 "ให้รางวัลอย่างไรจึงจะดี?"
บทความโดย : อ.บรรณวิท มณีเนตร
วันที่ 31 มกราคม 2554
สวัสดีปีใหม่ทุกท่าน ไปเที่ยวปีใหม่กลับมา คงจะปลอดภัย สบายดีกันทุกคน
จากบทความที่แล้ว เราได้รู้จักกับรางวัลว่ามี สองประเภทคือ รางวัลภายใน กับรางวัลภายนอก และถ้า
ให้รางวัลภายนอกมากๆ จะเกิดอาการที่ผมเรียกว่า “เอียนรางวัล” คือรางวัลภายนอกไม่สามารถจูงใจให้
เกิดพฤติกรรม กลับทำให้รู้สึกว่าทำไปเพื่อรางวัลมากกว่าเพื่อความสุข ความสนุกส่วนตัว
ทีนี้เราให้บางสิ่ง บางอย่างกับลูกน้องเรา เป็นการให้รางวัลทั้งหมดหรือไม่ ลองตอบต่อไปนี้ดู
คุณคิดว่า “การได้หยุดในช่วงปีใหม่ที่ผ่านมานี้เราคิดว่า เป็นรางวัลที่บริษัทให้ หรือ ว่าเป็นสิ่งที่ได้มาตามที่
กฎหมายกำหนด”
“การที่บริษัท ติดรูปเราพร้อมชื่อแล้วประกาศว่าเป็นพนักงานดีเด่นประจำเดือน เป็นรางวัลหรือประจาน”
“การที่บริษัท พักงานโดยไม่จ่ายค่าแรง เป็นรางวัลหรือการลงโทษ”
“การที่บริษัท ประกาศชื่อเราว่าเป็นตัวอย่างที่ดี ที่มาทำงานโดยไม่สนใจค่าล่วงเวลา เป็นการทำงานที่ทุ่มเทให้
กับบริษัท เป็นการให้รางวัลหรือการลงโทษ”
จะเห็นว่า การตีความของสิ่งที่ได้รับมานั้น ในแต่ละคนจะมีการรับรู้ การตีความที่แตกต่างกันไป
การกล่าวชมเชยพนักงานต่อหน้าเพื่อนพนักงานทั้งหมด ถ้าเป็นวัฒนธรรมทางตะวันตก ก็เป็นการชมเชย แต่ถ้า
เป็นคนไทยบางทีคนไทยไม่ชอบกลัวเพื่อนว่าเราว่าอยากได้หน้า
การให้รางวัลจึงต้องระวัง ในการตีความหมาย ไม่ใช่ตีความหมายตามคนให้ แต่ต้องตีความหมายตามคนรับ
คนไทยเรามีภาษิตว่า “หัวล้านได้หวี” หรือ “วานรได้แก้ว” ซึ่งคนที่ให้อาจหวังดี แต่คนรับเราไม่สามารถใช้ได้หรือ
เขาไม่รู้ว่าสิ่งที่ได้นั้นดีอย่างไร ดังนั้น
การให้รางวัลอะไรต้องแน่ใจก่อนว่า มันเป็นรางวัลในความคิดของคนรับ ไม่ใช่ในมุมมองของคนให้
เราควรให้รางวัลบ่อยแค่ไหน??
คุณเคยได้ยินคำนี้ไหม “อย่าชมเดียวเหลิง” หัวหน้างาน ผู้บริหารส่วนมากยึดหลักการนี้ เมื่อพนักงาน
ทำความดี เราไม่ค่อยอยากชม เดี๋ยวคนที่ทำจะเหลิงไม่อยากทำความดีอีก ซึ่งในความเป็นจริงแล้วไม่ได้เป็นเช่นนั้น
ถ้าท่านสังเกตเด็กเล็กๆ เมื่อไรก็ตามที่เขาทำอะไร เช่นหยิบของส่งให้เรา ถ้าเราทำถือคติที่ว่า “อย่าชมมาก
เดียวเหลิง” เราก็จะไม่พูดอะไร แต่รับของที่เด็กส่งมาแล้วทำเฉยไว้ ลองสังเกตดูซิ พักเดียวเด็กจะเลิกทำ
นั่นเป็นเพราะเด็กได้เรียนรู้ว่า ทำแล้วจะไม่ได้อะไร ไม่ทำดีกว่า
แต่ถ้าตรงข้าม พอเด็กหยิบของขึ้นมาปุ๊บ เราชมปั๊บ “เก่งจังเลย” เด็กจะหยิบอีก เราก็ชมอีก ทีนี้หยิบใหญ่เลย
เป็นเพราะว่าเขาเรียนรู้ว่า เมื่อทำดีจะได้คำชมเป็นรางวัล
ทีนี้ลองดูใหม่ พอเด็กหยิบปุ๊บ ชมปั๊บ พอเด็กหยิบของส่งให้อีก ทีนี้ทำเฉยๆ รอไปจะเด็กหยิบของส่งให้อีกครั้ง
ก็ชมใหม่ พอทำครั้งที่สี่ไม่ชมอีก เอาให้งงไปเลยว่าจะชมหรือไม่ชมกันแน่
ถ้าทำแบบนี้ เด็กจะไม่เข้าใจว่าควรหยิบของส่งให้หรือไม่ เพราะเดี๋ยวก็ได้รางวัล เดี๋ยวก็ไม่
ดังนั้น ถ้าพฤติกรรมใดเป็นพฤติกรรมที่เราต้องการให้เกิดขึ้น เราต้องให้รางวัลทันทีและต้องบอกให้ชัดเจนด้วยว่า
ที่ให้รางวัลเป็นเพราะอะไร เพื่อให้คนรับเขาสามารถเรียนรู้ เชื่อมโยงได้ว่า ทำพฤติกรรมนี้แล้วได้รางวัลนี้
เป็นการส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมมากขึ้น แต่ถ้าเราไปยึดหลัก “อย่าชมเดี๋ยวเหลิง” คนที่ทำพฤติกรรมจะไม่เข้าใจว่า
พฤติกรรมที่เขาทำนั้น เป็นสิ่งที่เราต้องการหรือไม่ คนทำจะงง ลองนึกถึงตอนที่
คุณทำงานครบ 3 เดือน หัวหน้างานไม่เรียกมาประเมินผลงานคุณรู้สึกอย่างไร?
คุณทำงานครบปี หัวหน้าให้เงินเดือนขึ้น 10% โดยไม่พูดอะไรกับคุณสักคำ คุณจะรู้สึกอย่างไร?
การให้รางวัลจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากในการทำงาน ในการเป็นหัวหน้างาน ผมจะกล่าวถึงเรื่องของรางวัลต่อ
ในครั้งหน้างาน ว่าถ้าต้องการลดพฤติกรรมบางอย่างจำใช้รางวัลได้ไหม?