Related Posts
Focus Improvement และ Kaizen
Focus Improvement และ Kaizen การลดต้นทุนการผลิตเป็นสิ่งที่ทุกองค์กรต้องดำเนินการโดยการลดความสูญเสีย คามสูญเปล่าต่างๆ ลงให้น้อยที่สุด เครื่องมือที่นิยมใช้กันในปัจจุบันคือ Kaizen เพื่อให้เกิดการปรับปรุงทีละเล็กละน้อยโดยเน้นการแก้ปัญหาในลักษณะที่เรียกว่า “ปิ๊ง” แต่ปัญหาบางอย่างไม่ได้เกิดขึ้นแบบนั้น การแก้ไขปัญหาต้องใช้การคิดอย่างเป็นระบบ วิเคราะห์เจาะลึกลงไปให้ถึงรากของปัญหา การลดต้นทุนให้ได้ผลต้องเกิดจากการใช้เครื่องมือทั้งสองนี้อย่างถูกต้องเลือกเครื่องมือหรือวิธีการที่เหมาะสมกับปัญหาไม่ขี่ช้างจับตั๊กแตนและไม่เอาไม้ซีกไปงัดไม้ซุง วัตถุประสงค์ • เพื่อให้เข้าใจระดับของปัญหาและการปรับปรุง • เพื่อทราบถึงความสูญเสียแบบต่างในหน่วยงาน • เพื่อให้ทราบถึงเครื่องมือและขั้นตอนในการดำเนินการ Kaizen • เพื่อให้ทราบถึงเครื่องมือและขั้นตอนในการดำเนินการ Focus Improvement หัวข้อการสัมมนา • ชนิดและประเภทของปัญหา • ความสูญเสียแบบต่างๆ • การดำเนินการกิจกรรม Kaizen • ขั้นตอนการดำเนินการกิจกรรม Focus Improvement • เทคนิคการเลือกเรื่องให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของบริษัท • เทคนิคการกำหนดประเด็นของปัญหาด้วย 5W+1H • เทคนิคการวิเคราะห์ให้ถึงรากของปัญหาด้วย Why-Why และการกำหนดแผนการแก้ไข วิธีการสัมมนา การบรรยายและตัวอย่างผลการดำเนินการจริง คุณสมบัติผู้เข้าสัมมนา ผู้บริหารระดับกลาง, ผู้บริหารระดับล่าง, หัวหน้างาน, พนักงานที่จะดำเนินกิจกรรม, ผู้ที่สนใจ ระยะเวลา 1 วัน Read more →
ร่วมกันพัฒนาทีมงานสู่ความสำเร็จ (Team for Work Improvement)
ร่วมกันพัฒนาทีมงานสู่ความสำเร็จ (Team for Work Improvement) ในองค์กรต่างๆ ย่อมประกอบด้วยหลาย ๆ หน่วยงาน ซึ่งต้องทำงานประสานกันเพื่อให้สัมฤทธิ์ผลขององค์กรตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ สิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้คือการทำงานร่วมกันเป็นทีมที่เข้าขา การจัดการทีมเริ่มตั้งแต่การสร้างทีม การพัฒนาทีมและการบริหารทีม หลักสูตรนี้จะทำให้ท่านสามารถนำเอาความรู้ที่ได้ไปใช้สร้าง พัฒนาทีมงานและบริหารงานอย่างได้ผล เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ และนำความเป็นทีมที่ได้ไปใช้ในการปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้เข้าใจแนวคิดของการทำงานเป็นทีม 2. เพื่อทราบขั้นตอนการพัฒนาของทีม 3. เพื่อให้ทราบถึงวิธีการสร้างผลงาน ให้เกิดขึ้นโดยอาศัยทีม หัวข้อการสัมมนา 1. แนวคิดและหลักการในการทำงานร่วมกัน 2. ขั้นตอนการทำงานเป็นทีมและพื้นฐานในการสร้างทีมให้มีประสิทธิภาพ 3. ปัญหา/อุปสรรคของการทำงานเป็นทีมและแนวทางในการลดปัญหาจากการทำงานเป็นทีม 4. การบริหารทีม( team management ) 5. วิธีการสร้างผลงานของทีมและประเมินผลการทำงานของทีม 6. การพัฒนาทีมงานเพื่อการปฏิบัติงาน ( team development ) วิธีการสัมมนา การบรรยายและ Workshop คุณสมบัติผู้เข้าสัมมนา ผู้บริหารระดับกลาง, ผู้บริหารระดับล่าง, หัวหน้างาน, พนักงานที่จะดำเนินกิจกรรม, ผู้ที่สนใจ ระยะเวลา 1 วัน Read more →
Statistical Process Control and Measurement System Analysis (SPC & MSA)
Statistical Process Control and Measurement System Analysis (SPC & MSA) คุณภาพที่ดีเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ แต่การผลิตของให้ได้คุณภาพไม่ได้หมายความว่าผลิตของทุกอย่างได้เหมือนกันหมด แต่การผลิตที่ดีกลับหมายถึงการผลิตที่ทำให้เกิดการแปรผันน้อย การทำการศึกษาว่าการผลิตที่เป็นอยู่ว่าปัญหาของการผลิตของเราอยู่ที่ใด โดยการใช้ข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงจึงเป็นการแก้ไขปัญหาที่ถูกจุดที่สาเหตุ แทนการคัดเลือกของที่ท้ายสายการผลิต วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างความเข้าใจในหลักการและการนำใช้การควบคุมกระบวนการโดยใช้เทคนิคทางสถิติ และ การวิเคราะห์ระบบการวัด 2. สามารถนำใช้ 2 เทคนิคนี้พร้อมกับเครื่องมืออื่นๆ เช่น PFMEA, Control Plan, Cpk Analysis อย่างมีประสิทธิภาพ เนื้อหาของหลักสูตร Part I – Statistical Process Control (SPC) • สถิติเบื้องต้น • ความเข้าใจเกี่ยวกับความผันแปรของกระบวนการและการควบคุม กระบวนการ • การเลือกใช้ Control Chart เพื่อการควบคุมกระบวนการ • การคำนวณและการสร้าง Control Chart • การตีความหมาย Control Chart • การศึกษาความสามารถของกระบวนการ Part II – Measurement System Analysis • คุณสมบัติในการแยกความแตกต่างของการวัด (Discrimination) • การวิเคราะห์ Bias, Linearity และ Stability • การศึกษาและตีความหมายของ Gage R&R แบบข้อมูลผันแปร (Variable GR&R) วิธีการสัมมนา บรรยาย และแบบฝึกหัดเชิงปฏิบัติการ คุณสมบัติผู้เข้าสัมมนา หัวหน้างาน, วิศวกร, ผู้ตรวจติดตามภายใน, ผู้เกี่ยวข้องกับการควบคุมคุณภาพโดยใช้ SPC และการวิเคราะห์ระบบการวัด (MSA) ระยะเวลา 2 วัน วิทยากร อ. เอกพล ปานขำ Read more →
เทคนิคการประเมินผลงานประจำปี
เทคนิคการประเมินผลงานประจำปี พนักงานทุกคนย่อมคิดเสมอว่าสิ่งที่เราทำนั้นดี ทุกคนต่างมีความคาดหวังว่าจะได้รับผลที่ดีจากผลงานที่ทำด้วยความยุติธรรม แต่การทำงานของพนักงานทุกคนนั้นมีความแตกต่างกัน บางคนทำดีแต่ไม่ตรงเป้าหมาย ในขณะที่บางคนทำตรงเป้าหมายแต่ผลงานไม่ค่อยดี หรือบางคนผลงานที่ออกมาไม่ดีแต่มีความตั้งใจในการทำงานสูง แล้วความยุติธรรมอยู่ที่ไหน การประเมินผลการทำงานในทุกครั้งจะสร้างปัญหาให้กับทั้งผู้ประเมินและผู้ถูกประเมินเป็นอย่างมาก ผู้ประเมินจะถูกกล่าวหาทุกครั้งว่าลำเอียง ผู้ถูกประเมินก็จะพบว่าตัวเองทำงานไม่ได้ตามเป้าหมายไม่มีผลงาน ซึ่งเมื่อถึงเวลานี้ก็สายเกินไปเสียแล้ว การประเมินผลจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะสร้างความโปร่งใส สร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานให้กับพนักงาน การป้อนกลับที่ดีจะส่งผลให้ผลการปฏิบัติงานของพนักงานบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ทราบความหมายของการประเมินผลงาน 2. เพื่อให้ทราบองค์ประกอบของการประเมินผลงาน 3. เพื่อให้ทราบเทคนิคและวิธีการในการประเมินผลงานแบบต่างๆ 4. เพื่อให้ทราบวิธีการนำผลการประเมินไปใช้ในการบริหารงาน หัวข้อการฝึกอบรม 1. ความหมายของการประเมินผลการปฏิบัติงาน 2. ปัจจัยที่ทำให้การประเมินผลมีประสิทธิภาพ 3. ปัญหาอุปสรรคในการประเมินผล 4. เทคนิคและวิธีการในการประเมินผลการปฏิบัติงาน 5. การป้อนกลับผลการปฏิบัติงาน (Feedback) 6. การประเมินผลการปฏิบัติงานกับการบริหารผลการปฏิบัติงาน 7. กรณีศึกษาและกิจกรรมกลุ่มเพื่อฝึกการประเมินผลการปฏิบัติงาน วิธีการฝึกอบรม บรรยาย การฝึกปฏิบัติ ระยะเวลาการอบรม 1 วัน คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม หัวหน้างาน, ผู้จัดการ, ผู้บริหาร Read more →
เสริมทักษะการเป็นวิทยากรฝึกอบรม
เสริมทักษะการเป็นวิทยากรฝึกอบรม วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้เข้าฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจในศาสตร์ด้านการสอนและฝึกอบรมผู้ใหญ่ในวัยทำงานซึ่งเป็นผู้เรียนที่อยู่ในองค์กร 2. เพื่อให้ผู้เข้าฝึกอบรมมีทักษะความสามารถ และความมั่นใจในการสอนอย่างวิทยากรมืออาชีพ 3. เพื่อให้ผู้เข้าฝึกอบรมได้รู้ถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของตนเองในด้านการเป็นวิทยากรเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาให้เป็นวิทยากรมืออาชีพอย่างแท้จริง หัวข้อการฝึกอบรม 1. จิตวิทยาการเรียนรู้สำหรับวิทยากรมืออาชีพ • การเรียนรู้ (Learning) • การเรียนรู้ของผู้ใหญ่(Adult learning) • รูปแบบการเรียนรู้ของผู้ใหญ่(Learning style) 2. การพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการเป็นวิทยากร • การพัฒนาความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาพูด ได้แก่ การเลือกใช้คำพูด การใช้น้ำเสียง คำควบกล้ำ และการหลีกเลี่ยงขยะคำพูดและคำวาสนา • การพัฒนาความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษากายได้แก่ การใช้สายตา สีหน้า ท่าทางการยืน การเดิน และอื่นๆ • การพัฒนาบุคลิกภาพสำหรับวิทยากรได้แก่ การสร้างความมั่นใจ การแต่งกายที่เหมาะสม มารยาทที่ดีสำหรับสำหรับวิทยากร และการสร้างมนุษยสัมพันธ์ • การบริหารและการสร้างบรรยากาศการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพได้แก่ การวิเคราะห์และประเมินผู้เรียน การจูงใจผู้เรียน การสร้างบรรยากาศ เทคนิคการตอบคำถามของผู้เรียน และเทคนิคการแก้ปัญหาระหว่างการฝึกอบรม 3. ความเข้าใจและการเลือกใช้เทคนิคการฝึกอบรม • เทคนิคประเภทผู้สอนเป็นศูนย์กลาง ได้แก่ การบรรยาย และการสาธิต • เทคนิคประเภทผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ได้แก่ การระดมสมอง การอภิปราย การประชุมเชิงปฏิบัติการ(Workshop) การใช้เกม กรณีศึกษา และบทบาทสมมติ 4. การเตรียมพร้อมสำหรับการเป็นวิทยากรมืออาชีพ • การออกแบบการสอน • การเลือกใช้สื่อประกอบการสอน • การพัฒนาแผนการสอน 5. ฝึกปฏิบัติการสอนรายบุคคล • ฝึกปฏิบัติสอนจริงรายบุคคลภายในเวลาที่กำหนด • ฝึกปฏิบัติประเมินการสอนของเพื่อนร่วมชั้นเรียน • วิทยากรให้คำแนะนำจุดแข็งและจุดอ่อนในการสอนรายบุคคล วิธีการสัมมนา การบรรยาย (Lecture) การสาธิต (Demonstration) การฝึกปฏิบัติ (Practicing) การระดมสมอง (Brain storming) ผู้เข้ารับการสัมมนา ตามที่หน่วยงานกำหนด ระยะเวลาในการฝึกอบรม 2 วัน Read more →