Related Posts
HRD กับ การดำเนินการฝึกอบรมตามหลักการของ TPM
HRD กับการดำเนินการฝึกอบรมตามหลักการของ TPM ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในหน่วยงานต่างๆ ในหน่วยงานต่างๆ ส่วนหนึ่งซึ่งบางที่เป็นส่วนใหญ่เสียด้วยซ้ำ เกิดจากการทำงานผิดพลาดของคน ซึ่งเราต้องหาทางที่จะหลีกเลี่ยงปละลดปัญหาต่างๆลง และยังต้องจัดเตรียมบุคคลากรให้สัมพันธ์ต่อความต้องการในการพัฒนาขององค์กร และกิจกรรมที่เกิดขึ้นในหน่วยงานต่างๆ การดำเนินการ TPM เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนาคนโดยการใช้เครื่องจักรเป็นเครื่องมือ ดังนั้นการดำเนินการฝึกอบรมตามแนวทาง TPM และ HRD จึงเป็นเรื่องที่ต้องมองให่เห็นเป็นเรื่องเดียวกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการฝึกอบรมสูงสุด วัตถุประสงค์ เพื่อให้ทราบความสัมพันธ์ของเสาหลักการฝึกอบรมกับเสาหลักอื่นๆ เพื่อให้ทราบความสอดคล้องกันของ HRD กับ TPM เพื่อการพัฒนาคน เพื่อให้ทราบและกำหนดความสามารถที่จำเป็นของพนักงานในเสาหลัก AM PM และ Kaizen เพื่อให้ทราบวิธีการกำหนดทักษะของแต่ละความสามารถ เพื่อให้สามารถจัดทำเกณฑ์การประเมินในแต่ละทักษะ เพื่อให้สามารถจัดทำแผนการฝึกอบรมให้สอดคล้องกับการดำเนินการในเสาหลัก AM PM และ Kaizen เพื่อให้ทราบวิธีการวางแผนการฝึกอบรมให้สอดคล้องกับการดำเนินการแต่ละเสาหลัก หัวข้อการสัมมนา จุดมุ่งหมายของการฝึกอบรมและการพัฒนาคนตามหลักการ HRD การนำ Vision ขององค์กรมาสู่การวางแผนพัฒนาคน ความเป็นหนึ่งเดียวของ HRD และ เสาหลักการฝึกอบรม ความสัมพันธ์ของเสาหลักทั้ง 7 กับเสาหลัก การฝึกอบรม ความสามารถของพนักงานที่ต้องการในแต่ละ Step ของเสาหลัก AM PM และ Kaizen การกำหนดทักษะที่ต้องการในแต่ละความสามารถของพนักงาน เกณฑ์การประเมินระดับของทักษะของพนักงาน การจัดทำแผนการฝึกอบรมส่วนบุคคล วิธีการสัมมนา การบรรยายตัวอย่าง และ Woskshop (นำ Vision ของหน่วยงานท่านมาด้วย) คุณสมบัติผู้เข้าร่วมสัมมนา ผู้จัดการฝ่ายฝึกอบรม ผู้ดูแลเสาหลักการฝึกอบรม หัวหน้างาน ผู้ที่สนใจ ระยะเวลาสัมมนา 1 วัน วิทยากร อ.บรรณวิท มณีเนตร Read more →
Knowledge Management
Knowledge Management วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้รับการฝึกอบรมมีความรู้ ทักษะ และทัศนคติในด้านการจัดการความรู้ 2. เพื่อให้ผู้รับการฝึกอบรมได้มีการเรียนรู้แนวคิดและวิธีการแสวงหาความรู้ 3. เพื่อให้ผู้รับการฝึกอบรมได้ฝึกปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิผล หัวข้อการฝึกอบรม 1. หลักการและแนวคิดของการจัดกาความรู้ (Knowledge Management Principle and Concepts ) • แรงขับเคลื่อนให้เกิดการจัดการความรู้ • นิยามความหมายของการจัดการความรู้ • ความสำคัญและประโยชน์ของการจัดการความรู้ 2. ตัวแบบกระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management Model) • การระบุความรู้ที่ต้องการ (Identification ) • การค้นคว้ารวบรวม และแสวงหาความรู้ (Capturing) • การประเมินความรู้ (evaluation) • การเก็บรวบรวมความรู้ (Storing) • การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ (Using) 3. กลยุทธ์การแสวงหาความรู้ (Capturing and exploring knowledge strategy) • ตัวแบบเกลียวความรู้(Knowledge spiral) เพื่อการแปลงความรู้ • Socialization • Externalization • Internalization • Combination 4. เครื่องมือการแลกเปลี่ยนความรู้ (Share and Learn Techniques) • ชุมชนนักปฏิบัติ (Community of practitioners) • การเล่าเรื่อง (Story Telling) • การทบทวนภายหลังการปฏิบัติ (After action review) วิธีการฝึกอบรม ใช้เทคนิคการฝึกอบรมในลักษณะบูรณาการ โดยมุ่งเน้นผู้เข้าอบรมเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ ได้แก่ การ การระดมสมอง การอภิปรายกลุ่ม การทำแบบฝึกหัด การบรรยาย และอื่นๆ ระยะเวลาการฝึกอบรม 1 วัน Read more →
ยอดหัวหน้างาน (Leadership)
ยอดหัวหน้างาน (Leadership) หน้าที่ของหัวหน้างานคือการทำงานให้สำเร็จด้วยบุคคลอื่น นั่นหมายความว่าการทำงานของหัวหน้างานจึงสำคัญที่จะทำอย่างไรให้ผู้ใต้บังคับบัญชา สามารถทำงานต่างๆให้สำเร็จลงได้ การใช้คนเป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่หัวหน้าต้องมี การเลือกวิธีการใช้คนที่เหมาะสมจึงเป็นทักษะที่ต้องได้รับการฝึกฝนจึงจะเกิดขึ้นได้ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้รับการฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติทีดีในด้านการเป็นหัวหน้างาน 2. เพื่อเสริมสร้างให้ผู้รับการฝึกอบรมมีทักษะในการบริหารงานในฐานะหัวหน้างานอย่างมีประสิทธิผล 3. เพื่อให้ผู้รับการฝึกอบรมได้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และเสริมสร้างความสัมพันธ์ให้ดีมากยิ่งขึ้น หัวข้อการฝึกอบรม 1. กรอบความคิดของหัวหน้างานยุคใหม่ • ความหมาย ความสำคัญ ของหัวหน้างาน • บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของหัวหน้างาน • คุณสมบัติของหัวหน้างานยุคใหม่ 2. เทคนิคการแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจ • ความหมายของการแก้ไขปัญหาและตัดสินใจ • ความเข้าใจและการวิเคราะห์ปัญหาประเภทต่างๆ • กระบวนการแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิผล 3. การสั่งงาน มอบหมายงาน และการติดตามงาน อย่างไรให้ได้งาน • แนวคิด หลักการของการสั่งงาน มอบหมายงาน และติดตามงาน • รูปแบบการสั่ง และมอบหมายงานแบบต่างๆ • กระบวนการให้การสั่ง มอบหมายงาน และติดตามงานที่มีประสิทธิภาพ 4. การพัฒนาการสื่อสารสำหรับหัวหน้างาน • แนวคิด และหลักการของการสื่อสาร • รูปแบบการสื่อสารที่หัวหน้างานต้องเกี่ยวข้อง • เทคนิคการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพสำหรับหัวหน้างาน วิธีการฝึกอบรม ใช้เทคนิคการฝึกอบรมในลักษณะบูรณาการ โดยมุ่งเน้นผู้เข้าอบรมเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ ได้แก่ การใช้ เกมละลายพฤติกรรม เกมเพื่อการเรียนรู้ การระดมสมอง การอภิปราย การบรรยาย และอื่นๆ คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม หัวหน้างาน, ผู้จัดการ, ผู้บริหาร ระยะเวลาการอบรม 1 วัน Read more →
เทคนิคการประเมินผลงานประจำปี
เทคนิคการประเมินผลงานประจำปี พนักงานทุกคนย่อมคิดเสมอว่าสิ่งที่เราทำนั้นดี ทุกคนต่างมีความคาดหวังว่าจะได้รับผลที่ดีจากผลงานที่ทำด้วยความยุติธรรม แต่การทำงานของพนักงานทุกคนนั้นมีความแตกต่างกัน บางคนทำดีแต่ไม่ตรงเป้าหมาย ในขณะที่บางคนทำตรงเป้าหมายแต่ผลงานไม่ค่อยดี หรือบางคนผลงานที่ออกมาไม่ดีแต่มีความตั้งใจในการทำงานสูง แล้วความยุติธรรมอยู่ที่ไหน การประเมินผลการทำงานในทุกครั้งจะสร้างปัญหาให้กับทั้งผู้ประเมินและผู้ถูกประเมินเป็นอย่างมาก ผู้ประเมินจะถูกกล่าวหาทุกครั้งว่าลำเอียง ผู้ถูกประเมินก็จะพบว่าตัวเองทำงานไม่ได้ตามเป้าหมายไม่มีผลงาน ซึ่งเมื่อถึงเวลานี้ก็สายเกินไปเสียแล้ว การประเมินผลจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะสร้างความโปร่งใส สร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานให้กับพนักงาน การป้อนกลับที่ดีจะส่งผลให้ผลการปฏิบัติงานของพนักงานบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ทราบความหมายของการประเมินผลงาน 2. เพื่อให้ทราบองค์ประกอบของการประเมินผลงาน 3. เพื่อให้ทราบเทคนิคและวิธีการในการประเมินผลงานแบบต่างๆ 4. เพื่อให้ทราบวิธีการนำผลการประเมินไปใช้ในการบริหารงาน หัวข้อการฝึกอบรม 1. ความหมายของการประเมินผลการปฏิบัติงาน 2. ปัจจัยที่ทำให้การประเมินผลมีประสิทธิภาพ 3. ปัญหาอุปสรรคในการประเมินผล 4. เทคนิคและวิธีการในการประเมินผลการปฏิบัติงาน 5. การป้อนกลับผลการปฏิบัติงาน (Feedback) 6. การประเมินผลการปฏิบัติงานกับการบริหารผลการปฏิบัติงาน 7. กรณีศึกษาและกิจกรรมกลุ่มเพื่อฝึกการประเมินผลการปฏิบัติงาน วิธีการฝึกอบรม บรรยาย การฝึกปฏิบัติ ระยะเวลาการอบรม 1 วัน คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม หัวหน้างาน, ผู้จัดการ, ผู้บริหาร Read more →
พื้นฐานระบบการผลิตแบบลีน
พื้นฐานระบบการผลิตแบบลีน วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างความเข้าใจในปรัชญา เป้าหมาย วัตถุประสงค์และเครื่องมือของ Lean 2. เพื่อสร้างความเข้าใจ และความสามารถในการบรรลุผลการดำเนินงานในระดับ Lean 3. เพื่อสามารถระบุโครงการปรับปรุงโดยใช้แนวทาง Lean สำหรับกลุ่มผลิตภัณฑ์ของคุณ 4. เพื่อสามารถวางแผนโครงการในการบรรลุเป้าหมายการดำเนินงานในระดับ Lean 5. เพื่อสร้างความเข้าใจในบทบาทของผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้องค์กรเข้าสู่ Lean เป้าหมาย วัตถุประสงค์และเครื่องมือของ Lean การที่สามารถระบุโครงการปรับปรุงโดยใช้แนวทาง Lean สำหรับกลุ่มผลิตภัณฑ์และการวางแผนโครงการในการบรรลุเป้าหมายการดำเนินงานในระดับ Lean หัวข้อการสัมมนา ของเสียในการผลิต (Waste, MUDA) 1. ต้นทุนคุณภาพ Cost of Quality (COQ) 2. ต้นทุนการไหลที่ไม่ดี 3. กลยุทธ์ของระบบการผลิตแบบ LEAN 4. จัดทำกระบวนการผลิตแบบไหลต่อเนื่อง, ระบบการผลิตและประกอบแบบ Cell, ใช้ระบบดึง ไม่ใช้ผลัก, Kanban และ Supermarket, การจัดระดับของความต้องการ, Heijunka, ควบคุมคุณภาพ ณ จุดสร้าง, โดยใช้ การตรวจ ณ จุดทำงาน และกลไกป้องกันความผิดพลาด, ออกแบบพัฒนาอุปกรณ์ในการผลิตที่ยืดหยุ่น, ตั้ง เครื่องในการเปลี่ยนรุ่นงานอย่างฉับไว (Quick Changeover-SMED), บริหารประสิทธิผลโดยรวมของ อุปกรณ์ (Overall Equipment Effectives), การซ่อมบำรุงแบบทวีผล (TPM), การบริหารโครงการ Lean, ระบบการวัดคะแนน, บทบาทหน้าที่ของบุคลากรในองค์กร, การวัดผังกระแสแห่งคุณค่า (Value Stream Mapping), คำถามในการออกแบบภาวะอนาคต วิธีการสัมมนา บรรยาย คุณสมบัติผู้เข้าสัมมนา ระดับบริหารที่สามารถดำเนินนโยบายการปรับปรุงได้โดยมีการเตรียมพร้อมก่อนการ อบรมของข้อมูลพื้นฐานของกระบวนการ เช่น ระดับของสินค้าคงคลัง ระยะเวลาการ เปลี่ยนรุ่นงานของกระบวนการหลัก Cycle time ของกระบวนการ ระยะเวลา 1 วัน Read more →