Related Posts
Project Management
Project Management การบริหารจัดการงานโครงการนั้น ผู้จัดการโครงการทุกคนล้วนมุ่งหวังที่จะจัดการงานโครงการนั้นๆได้บรรลุเป้าหมายหลัก 3 ประการคือ 1. ทำงานโครงการนั้นในทันเวลา (Time) 2. ทำงานโครงการนั้นให้ได้ผลตอบแทนคุ้มค่าภายในต้นทุนที่ต่ำที่สุด (Cost) 3. ทำงานให้บรรลุขอบเขตของเป้าหมายอย่างมีคุณภาพ (Scope goal) หลักสูตรนี้เสนอความรู้ที่มีประโยชน์สำหรับใช้ในการบริหารและการวางแผนโครงการ ตั้งแต่เริ่มต้น จนกระทั่งสิ้นสุดโครงการ วิชานี้ครอบคลุมถึงการจัดองค์กร ข้อกำหนดพื้นฐาน เทคนิคและ วิธีการต่าง ๆ ในการบริหารโครงการ การบริหารการเงิน การวิเคราะห์การหมุนเวียนของเงิน (Cash flow analysis) เทคนิคการวางแผนและควบคุมโครงการ เช่น Critical Path Method (CPM) ซึ่งการที่เราจะสามารถบริหารโครงการให้ได้ผลดังกล่าว ย่อมขึ้นกับปัจจัยแวดล้อมมากมาย (Project Variables) โดยต้องพึ่งการวางแผนที่ดี เพื่อนำสู่การสร้างระบบงาน Workflowงานที่รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และจัดตารางการควบคุมทั้งด้านต้นทุนและคุณภาพได้เป็นอย่างดี ภายใต้ความเสี่ยงต่างๆ ซึ่งโปรแกรมหลักสูตรนี้จึงต้องการให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจหลักในการบริหารโครงการให้บรรลุประสิทธิผลทั้ง 3 ด้านดังกล่าวได้อย่างแท้จริง ตลอดทั้งในการบริหารโครงการตั้งแต่เริ่มต้นวางแผน จนถึงแนวทางการทำงานปฏิบัติการจริง บริหารทีมโครงการ ควบคุมโครงการ ประเมินผล จนจบโครงการ ในโปรแกรมหลักสูตร Effective Project Management มีรายละเอียดของหลักสูตรดังนี้ หลักการบริหารโครงการ : การกำหนดและวางแผนโครงการ Objective 1) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจแนวคิดของการบริหารโครงการอย่างเป็นระบบ 2) เรียนรู้การบริหารโครงการให้เกิดประสิทธิผลอย่างเป็นขั้นเป็นตอนทั้ง 5 เฟส 3) ให้ผู้เข้าอบรมสามารถกำหนดโครงการ เป้าหมาย และวางแผนโครงการได้ 4) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถบริหารเวลาให้ทันตามกำหนด และจัดขั้นตอนในการบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้สามารถคำนวณและบริหารต้นทุนของโครงการ ได้อย่างมีหลักการ หลักการบริหารโครงการ: การดำเนินโครงการและการประเมิน Objective 1) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจหลักการนำแผนโครงการมาสู่การปฏิบัติที่มีประสิทธิผลได้ 2) รู้จักการบริหารคน บริหารทีมโครงการ ให้การทำงานจริงในโครงการประสบความสำเร็จ 3) สามารถติดตามงาน ควบคุมโครงการ และประเมินโครงการ ได้อย่างมีประสิทธิผล 4) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รู้จักการคำนึงถึงความเสี่ยงของโครงการ และวิธีการบริหารจัดการความเสี่ยงโครงการ 5) ให้ผู้เข้าอบรมสามารถประเมินโครงการได้อย่างมืออาชีพ และจบโครงการให้ได้ตามเป้าหมาย Course Outline – แนะนำเกี่ยวกับ Project Management กับบริหารที่มีประสิทธิภาพ – การแบ่งการบริหารโครงการเป็น 5 เฟส • การเริ่มโครงการ (Project Definition) • การวางแผนโครงการ (Project Planning) • การดำเนินงานและการจัดลำดับงานในโครงการ (Project Scheduling) – ความสำเร็จหรือล้มเหลววัดได้จากเป้าประสงค์ 3 ด้าน (เวลา, ขอบเขต,งบประมาณค่าใช้จ่าย) – เรียนรู้การวางแผน การจัดงานย่อย (Work Breakdown Structure) – การจัดตารางความรับผิดชอบ (Linear Responsibility Matrix) • การตรวจติดตามและควบคุมโครงการ (Project Monitoring and... Read more →
Statistical Process Control and Measurement System Analysis (SPC & MSA)
Statistical Process Control and Measurement System Analysis (SPC & MSA) คุณภาพที่ดีเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ แต่การผลิตของให้ได้คุณภาพไม่ได้หมายความว่าผลิตของทุกอย่างได้เหมือนกันหมด แต่การผลิตที่ดีกลับหมายถึงการผลิตที่ทำให้เกิดการแปรผันน้อย การทำการศึกษาว่าการผลิตที่เป็นอยู่ว่าปัญหาของการผลิตของเราอยู่ที่ใด โดยการใช้ข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงจึงเป็นการแก้ไขปัญหาที่ถูกจุดที่สาเหตุ แทนการคัดเลือกของที่ท้ายสายการผลิต วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างความเข้าใจในหลักการและการนำใช้การควบคุมกระบวนการโดยใช้เทคนิคทางสถิติ และ การวิเคราะห์ระบบการวัด 2. สามารถนำใช้ 2 เทคนิคนี้พร้อมกับเครื่องมืออื่นๆ เช่น PFMEA, Control Plan, Cpk Analysis อย่างมีประสิทธิภาพ เนื้อหาของหลักสูตร Part I – Statistical Process Control (SPC) • สถิติเบื้องต้น • ความเข้าใจเกี่ยวกับความผันแปรของกระบวนการและการควบคุม กระบวนการ • การเลือกใช้ Control Chart เพื่อการควบคุมกระบวนการ • การคำนวณและการสร้าง Control Chart • การตีความหมาย Control Chart • การศึกษาความสามารถของกระบวนการ Part II – Measurement System Analysis • คุณสมบัติในการแยกความแตกต่างของการวัด (Discrimination) • การวิเคราะห์ Bias, Linearity และ Stability • การศึกษาและตีความหมายของ Gage R&R แบบข้อมูลผันแปร (Variable GR&R) วิธีการสัมมนา บรรยาย และแบบฝึกหัดเชิงปฏิบัติการ คุณสมบัติผู้เข้าสัมมนา หัวหน้างาน, วิศวกร, ผู้ตรวจติดตามภายใน, ผู้เกี่ยวข้องกับการควบคุมคุณภาพโดยใช้ SPC และการวิเคราะห์ระบบการวัด (MSA) ระยะเวลา 2 วัน วิทยากร อ. เอกพล ปานขำ Read more →
Positive Thinking
Positive Thinking วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้รับการฝึกอบรมมีความรู้ ทักษะ และทัศนคติในด้านการคิดเชิงบวก 2. เพื่อให้ผู้รับการฝึกอบรมได้มีการเรียนรู้แนวคิดและวิธีการสร้างและประยุกต์ใช้ความคิดเชิงบวก 3. เพื่อให้ผู้รับการฝึกอบรมได้ฝึกปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนร่วมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิผล หัวข้อการฝึกอบรม 1. ความรู้ความเข้าใจกลไกทางความคิดของมนุษย์ 2. ทางสองแพร่งทางด้านความคิดในเชิงบวก และเชิงลบ 3. ผลกระทบที่เลวร้ายเกิดจากความคิดเชิงลบ 4. การลด ละ เลิก ควมคิดเชิงลบ 5. คุณประโยชน์จากความคิดเชิงบวก 6. กระบวนการสร้างและพัฒนาความคิดเชิงบวก 7. การนำความคิดเชิงบวกไปใช้ประโยชน์ในการทำงาน 8. การสื่อสารด้วยความคิดเชิงบวก 9. การพัฒนานวัตกรรมการทำงานจากความคิดเชิงบวก วิธีการฝึกอบรม ใช้เทคนิคการฝึกอบรมในลักษณะบูรณาการ โดยมุ่งเน้นผู้เข้าอบรมเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ ได้แก่ การ การระดมสมอง การอภิปรายกลุ่ม การทำแบบฝึกหัด การบรรยาย และอื่นๆ ระยะเวลาฝึกอบรม 1 วัน Read more →
QC 7 Tools
QC 7 Tools เครื่อง มือที่เป็นอมตะในการทำการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องนั้นคือ QC 7 Tools ซึ่งประกอบไปด้วยเครื่องมือ 7 อย่างด้วยกันคือ กราฟ แผนตรวจสอบ พาเรโต ผังก้างปลา ผังการกระจาย แผนภูมิควบคุม ฮีสโตรแกรม ซึ่งแต่ละอย่างก็มีวิธีการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ที่แต่ต่างกัน แต่หากสามารถนำมาใช้ร่วมกันอย่างเหมาะสมได้ ก็จะสามารถเข้าถึงช่วยในการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลักสูตรนี้เป็นที่ให้ผู้ที่ไม่เคยมีความรู้เรื่องเครื่องมือในการแก้ปัญหา ต่างมาก่อนเลยได้เข้าใจการใช้เครื่องมือต่างๆ และและสามารถนำไปใช้ในงานจริงได้ วัตถุประสงค์ เพื่อให้เข้าใจและรู้จักการใช้เครื่องมือในการแก้ไขปัญหาทั้ง 7 เครื่องมือ เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ที่หน้างานจริงได้ หัวข้อการสัมมนา วันที่แรก การเขียนกราฟแบบต่างๆ การใช้งาน การตีความกราฟแบบต่างๆ การจัดทำ แผนตรวจสอบ (Check Sheet) ชนิดของแผนตรวจสอบ การออกแบบแผนตรวจสอบ ความหมายของพาเรโต การทำแผนภูมิพาเรโต การตีความหมายของพาเรโต การจัดทำผังก้างปลา ข้อควรจำในการจัดทำผังก้างปลา การทำผังการกระจาย การหาค่าความสัมพันธ์ผังการกระจาย วันที่สอง สถิติเบื้องต้น การคำนวณ ค่าเฉลี่ยต่างๆ ความหมายของค่าเฉลี่ยแบบต่างๆ การคำนวณค่าการเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดทำ ฮีสโตรแกรม การตีความหมายของ ฮีสโตรแกรม การจัดทำแผนภูมิควบคุม การนำแผนภูมิควบคุมไปใช้งาน การตีความหมายของแผนภูมิควบคุม วิธีการสัมมนา การบรรยายตัวอย่าง และการทำ Woskshop คุณสมบัติผู้เข้าร่วมสัมมนา ผู้จัดการคุณภาพ, หัวหน้างานทุกแผนกขึ้นไป ระยะเวลาสัมมนา 2 วัน วิทยากร บรรณวิท มณีเนตร Read more →
เทคนิคการสร้างและพัฒนาทีงานสู่ความสำเร็จ
เทคนิคการสร้างและพัฒนาทีมงานสู่ความสำเร็จ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้รับการฝึกอบรมมีความรู้ ทักษะ และทัศนคติในด้านการทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ 2. เพื่อเสริมสร้างความมุ่งมั่นในการทำงานและสร้างความผูกพันธ์ต่อองค์กร 3. เพื่อให้ผู้รับการฝึกอบรมได้รู้จักคุ้นเคย และมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน หัวข้อการฝึกอบรม 1. กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ • เพื่อเตรียมความพร้อมของผู้เรียน • เพื่อสร้างความคุ้นเคย และลดความแตกต่างระหว่างกัน • เพื่อจูงใจให้เกิดความสนใจในการเรียนรู้ 2. ธรรมชาติของมนุษย์และการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข • เพื่อเรียนรู้พื้นฐานธรรมชาติของมนุษย์ • เพื่อเรียนรู้จิตวิทยาความแตกต่างระหว่างบุคคล • เพื่อเรียนรู้การปรับตัวเพื่อสร้างสัมพันธภาพที่ดีแก่กัน 3. มนุษยสัมพันธ์และการทำงานเป็นทีม • องค์ประกอบของทีมงาน และมนุษยสัมพันธ์ที่ดี • การตั้งเป้าหมายร่วมกันอย่างเป็นเอกภาพ • บทบาทหน้าที่และความรับผิดของบุคลากรในทีม 4. การสื่อสารเพื่อการทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ • ปัญหาการสื่อสารในการทำงานร่วมกัน • เทิคนิคการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ 5. เทคนิคการทำงานระหว่างทีมงานเพื่อประโยชน์สูงสุดขององค์กร • เพื่อเรียนรู้เทคนิคในการทำงานร่วมกันระหว่างทีมงาน • เพื่อเรียนรู้แนวทางการสร้างผลประโยชน์สูงสุดให้องค์กร วิธีการฝึกอบรม เกมละลายพฤติกรรม เกมเพื่อการเรียนรู้ การระดมสมอง การอภิปราย การบรรยาย ผู้เข้ารับการฝึกอบรม พนักงานตามที่องค์กรกำหนด ระยะเวลาการฝึกอบรม 1 วัน Read more →