เมื่อเครื่องจักรจมน้ำ หากต้องการเข้าไปกู้เครื่องจักรหลังจากที่จมน้ำแล้ว ขอนำเสนอวิธีการดังนี้

ตู้ไฟฟ้าหลัก (Main Circuit Breaker Cabinet)

1. ตรวจสอบ Circuit Breaker ว่าปิดอยู่หรือไม่ ต้องทำให้แน่ใจว่าปิดอยู่
2.ถอดสายไฟหลัก (Main Cable) ออก
3.ทำความสะอาดตู้ไฟให้สะอาดทุกจุด ด้วยแปรงทาสี ผ้าแห้ง ผ้าซับน้ำหรือน้ำมันให้สะอาด
4. เปิดฝาอุปกรณ์ Circuit Breaker ออกตรวจสอบภายใน ( ให้คิดว่ามีน้ำอยู่ทุกส่วนของตู้ไฟฟ้า)
5.ทำความสะอาดภายในของ Circuit Breaker พ่นด้วยน้ำยาทำความสะอาดหน้า Contact
6.เพื่อให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ต่างๆ แห้งสนิท ให้อบที่อุณหภูมิ 120F หรือ 49C นาน 30 นาที
7.ตรวจสอบความเป็นฉนวนของ จุดต่างๆ โดยตั้งค่าเครื่องตรวจสอบความเป็นฉนวนที่ 500V ค่าความเป็นฉนวนต้องมากกว่า 100M Ohm ที่ Low-Volt และ 500M Ohm ที่ Hi-Volt นาน 30 วินาที

เกียร์บล็อค

เมื่อแช่น้ำมานานให้ท่านอนุมานก่อนว่าน้ำจะเข้าไปในเกียร์ต่างๆ ได้ ถึงแม้นว่าเกียร์บางลูกจะน้ำท่วมไม่ถึง ก็อย่าลืมว่าจะมีความชื้นเข้าไปอยู่ในเกียร์บล็อคได้
ถ่ายน้ำมันเกียร์ที่อยู่ในเกียร์บล็อคออกให้หมด (ต้องใจเย็นๆ รอให้ออกให้หยดออกให้หมดจริงๆ)
ทำความสะอาดเกียร์ที่อยู่ในเกียร์บล็อคให้สะอาดด้วยน้ำมันเครื่องที่ใสพวก SAE30 เพื่อนำน้ำออกจากเกียร์ให้หมด
เติมน้ำมันเกียร์ตามเบอร์และระดับที่กำหนดของแต่ละเกียร์บล็อค
ทดลองเดินเครื่องด้วยความเร็วต่ำก่อนประมาณ 30-60 นาที แล้วจึงเดินเครื่องจริง
ถ่ายน้ำมันเกียร์ใหม่อีกครั้ง หลังจากเดินเครื่องไป 1 เดือน

ลูกปืน

ลูกปืนที่แช่น้ำอยู่ทุกลูกควรได้รับการเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด
หากเปลี่ยนไม่ได้ หรือไม่สะดวกในเวลานี้ไม่เป็นไร ให้ท่านอัดจารบีเบอร์ 0 หรือเบอร์ที่ใสที่สุดเข้าไปในจารบีก่อน เพื่อไล่เอาน้ำหรือความชื้นออกจากลูกปืน
จากนั้นเดินเครื่องหรือทำให้เครื่องหมุนที่ความเร็วต่ำประมาณ 30-60 นาที
นำจารบีตามเบอร์ที่กำหนดไว้ของจุดนั้นๆ มาอัดอีกครั้งประมาณ 30% ของปริมาณจารยีที่ใช้ทั้งหมด เพื่อไล่เอาจารบีเบอร์0 ออก
ทำซ้ำขั้นตอนที่ 3 และ 4 ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะไม่มีจารบีเบอร์ 0 ไหลออกมาแล้ว

กระบอกลม

ระบบลมนี้เป็นสิ่งที่ไม่ค่อยถูกกันกับน้ำและความชื้นนัก
กระบอกลมทุกกระบอกที่จมน้ำ ควรนำมาถอดกระบอกลมออกทำความสะอาดด้วยน้ำมันที่ใส หรือน้ำมันสำหรับอุปกรณ์นิวแมติค หรือน้ำมันเครื่อง SAE 30 ก็ได้ การทำความสะอาดควรใช้ผ้าชามัวร์ หรือผ้าที่ไม่มีขน เพื่อไม่ให้เศษผ้าเข้าไปในระบบลมได
ต่างๆ ของกระบอกลมว่าอยู่ในสภาพที่ดี หากเป็นไปได้ควรเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด
ชิ้นส่วนของกระบอกลมต่างๆ ที่ถอดออกมาไว้ให้แห้งสนิทก่อนจึงประกอบใหม่ประกอบใหม่

โซลินอยด์วาล์ว

ควรเปลี่ยนใหม่ทั้งหมดหากทำได้ โดยเฉพาะวาล์วที่มี Spoon Valve ซึ่งมีชิ้นส่วนเล็กๆ เคลื่อนไหวอยู่มาก การทำความสะอาดบางครั้งไม่ทั่วถึง ส่งผลให้เกิดการทำงานที่ผิดพลาดได้ในอนาคต
หากเปลี่ยนไม่ได้ ให้ทำการถอดออกทำความสะอาด ด้วยผ้าแห้งและน้ำมันใส หรือ SAE 30
ควรตรวจสอบซีลและ O-ring ต่างๆ ของกระบอกลมว่าอยู่ในสภาพที่ดี หากเป็นไปได้ควรเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด
โซลินอยด์วาล์วที่มี Coil ไฟฟ้า ควรทำการตรวจสอบ Coil ไฟฟ้าก่อนว่าไม่ชื้นและมีค่าความต้านทานขดลวดที่ถูกต้อง
ควรประกอบโซลินอยด์วาล์วและ Coil เข้าด้วยกัน แล้วทดสอบการทำงานก่อนนำไปประกอบกับเครื่องจักร
ควรทำการเปลี่ยนหรือไล่น้ำออกจากท่อลมทั้งหมด ด้วยการนำลมเป่าในท่อโดยปิดปลายท่ออีกข้างไว้(อั่นลมไว้) จากนั้นเปิดท่อที่ปิดไว้ทันที จะทำให้น้ำที่ค้างอยู่ไหลออกมา ทำซ้ำๆ จนมั่นใจว่าไม่มีน้ำในท่อลมแล้ว
ฟิตติ้งต่างๆ ควรทำการเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด เนื่องจากมีส่วนที่เป็นครีบอยู่ภายในทำให้เก็บน้ำไว้ได้

FLR (Filter, Lubricator, Regulator)

Filter ถอดกระเปาะของ Filter ออกทำความสะอาด โดยผ้าที่ไม่มีข
ควรทำการเปลี่ยนใส้กรองใหม่ในรุ่นที่มีใส้กรอง
ตรวจสอบท่อทางที่เข้าของลงว่าตันหรือไม่ แล้วใช้ลมเป่าให้สะอาด
ประกอบ Filter
Lubricator ถอดออกทำความสะอาด ถ่ายน้ำมันเก่าออกให้หมด
ทำความสะอาดกระเปาะน้ำมันให้สะอาด โดยใช้ผ้าที่ไม่มีขน
ตรวจสอบท่อดูดน้ำมันว่าขาดหรือไม่ มีน้ำปนอยู่หรือไม่ ถอดออกนำลมเป่าไล่น้ำออก ทิ้งไว้ให้แห้ง
นำลมต่อเข้าที่ Port เข้าของLubricator แล้ว เปิดลมเข้าเพื่อไล่น้ำออกจากระบบ ทิ้งไว้จนกว่าน้ำจะออก