- เพื่อสร้างวัฒนธรรมของการเป็น ศูนย์ ซึ่งหมายถึง อุบัติเหตุเป็นศูนย์ ของเสียเป็นศูนย์ เครื่องเสียเป็นศูนย์ ในทุกกระบวนการผลิต โดยใช้หลักการ 5G
- เพื่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจกัน ของพนักงานทุกระดับ ในอันที่จะลดความสูญเสียลง ตั้งแต่ ผู้บริหารระดับสูง จนถึงพนักงานหน้างาน
- เพื่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจกัน ของพนักงานทุกแผนก ทุกหน่วยงานในองค์กร ในอันที่จะลดความสูญเสียลง
- เพื่อให้ทักษะ ความรู้ ความสามารถของพนักงานทุกคนสูงขึ้น
- เพื่อปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมขององค์กร ไปสู่การเป็นผู้ผลิตที่สามารถแข่งขันได้ในระดับโลก
บทความแนะนำ
Related Posts
Focus Improvement
TPM หรือ Total Productive Maintenance เมื่อครั้งก่อนได้พูดถึงความสูญเสียที่เกิดจากการเบี่ยงออกไปจากมาตรฐานไปแล้ว มาคราวนี้จะพูดเรื่องความสูญเสียเมื่อเทียบกับอุดมคติต่อไป ความสูญเสียในอุดมคติคือ ความสูญเสียที่เรานึกเอาว่าสิ่งที่เราเป็นอยู่ในปัจจุบันกับในทางอุดมคติแล้ว มีอะไรบ้างที่ไม่ตรงกัน สิ่งนั้นย่อมเป็นความสูญเสีย เช่น การที่เราทำแซนวิชนั้นต้องซื้อขนมปังมา และใส่ถุงมาด้วย เราต้องมาแกะถุงออกเพื่อนำขนมปังข้างในมาทำแซนวิช การแกะขนมปังออกจากถุงเป็นขั้นตอนที่สูญเปล่า ถ้าเทียบจากอุดมคติคือ ทำไมเราต้องแกะถุง แต่การแกะถุงจะไม่ใช่ความสูญเปล่า ถ้าเทียบกับมาตรฐานที่เราเป็นอยู่ ความสูญเสียที่เกิดขึ้นเมื่อเราเปลี่ยนมามองจากมุมของอุดมคติ จึงมีความสูญเสียที่เกิดขึ้นมากกว่า แต่นั่นก็เป็นโอกาสที่เราจะใช้ในการปรับปรุงได้มากกว่าเช่นกัน บางครั้งเราสามารถสร้างวิธีการใหม่ๆ จากความสูญเสียในทางอุดมคตินี้ ตัวอย่างเช่นการทำ Milk Run ในระบบแบบ Lean ก็เกิดขึ้นจากวิธีการในอุดมคตินี้ ความสูญเสียอีกแบบหนึ่งคือ ความสูญเสียที่เกิดขึ้นในจินตนาการ เป็นความสูญเสียที่ไม่เคยมองว่ามันเป็นความสูญเสีย แต่เราทำให้มันกลายเป็นความสูญเสีย เช่น การที่เราทำแซนวิชแล้วต้องมาตัดแซนนวิชออกเป็นรูปสามเหลี่ยมนั้น กระบวนการตัดเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะลูกค้าต้องการเห็นไส้แซนวิชที่น่ากินและสามารถหยิบใส่ปากได้ง่าย จึงต้องตัดเป็นสามเหลี่ยม กระบวนการนี้จึงเป็นกระบวนการที่จำเป็น แต่ในทางจินตนาการแล้ว เราอาจจะบอกว่า กระบวนการนี้เป็นความสูญเปล่า ทำไมเราไม่สามารถทำแซนวิชด้วยขนมปังรูปสามเหลี่ยมเลยล่ะ ไม่ต้องตัดไม่ได้รึ ความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากจินตนาการจะเป็นความสูญเสียที่เราต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างให้กระบวนการที่จะเป็นจำเป็นกลายเป็นความสูญเสียเกิดขึ้น งานนี้จึงต้องใช้จินตนาการล้วนๆ สร้างสรรค์เห็นปัญหาจากสิ่งที่ไม่เป็นปัญหา ความสูญเสียที่เกิดขึ้นทั้งสามแบบ คือ ตามมาตรฐาน ตามอุดมคติ ตามจิตนาการ จึงเป็นมุมมองที่จะทำให้เราเห็นความสูญเสียในแบบที่แตกต่างกัน ความลึกของการมองความสูญเสียก็จะไม่เหมือนกัน ความยากง่ายของการมองเห็นความสูญเสียก็แตกต่างกันด้วย หากองค์กรต้องการที่จะพิจารณาความสูญเสีย จึงควรเริ่มจากตามมาตรฐานเสียก่อน เพราะเป็นมุมมองที่ง่ายและชัดเจนที่สุด เห็นการปรับปรุงที่ชัดเจน ซึ่งโดยปกติแล้ว เพียงแค่ทำให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด เราก็สามารถจัดการกับปัญหาได้มากมายแล้ว คราวหน้า ผมจะกล่าวถึงลักษณะธรรมชาติของความสูญเสียว่าเป็นอย่างไร แต่ถ้าใครใจร้อนอยากรู้ก่อน ก็ดูใน https://www.tpmthai.com/ธรรมชาติของความสูญเสีย ได้ครับ Read more →
Employee Engagement 5
Employee Engagement 5 บทความโดย : อ.บรรณวิท มณีเนตร ต่อจากครั้งก่อนที่ว่า การที่พนักงานจะมีความผูกพันกับองค์กรนั้น ปัจจัยแรกคือ การรับรู้ของพนักงานว่าองค์กรสนับสนุนการทำงานของเขา เราก็จะมาพูดถึงปัจจัยตัวถัดไปที่งานวิจัยของ Sak กล่าวถึงก็คือ ความยุติธรรมของขั้นตอนการปฏิบัติต่อพนักงาน เรื่องความยุติธรรมนี้ พูดกันได้ยาวเลย เพราะคนเรานั้นจะรู้สึกถึงความยุติธรรมหรือไม่ก็ด้วยการตีความของสิ่งที่ได้รับมาว่าคุ้มค่ากับสิ่งที่ลงทุนไปหรือไม่ แม้นแต่ลิงยังรู้จักเรื่องของความยุติธรรมเลย เมื่อลิงสองตัวทำแบบเดียวกันแต่ได้ผลตอบแทนที่ไม่เท่ากัน (ผู้ทดลองทำการทดลองให้ลิงสองตัวทำแบบเดียวกัน ตัวหนึ่งได้องุ่น อีกตัวไปแตงกวา ซึ่งแตงกวาในการรับรู้ของลิงคือ ผลตอบแทนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับองุ่น) คลิป https://www.youtube.com/watch?v=meiU6TxysCg ความยุติธรรมมี 2 แบบใหญ่ๆ คือ ความยุติธรรมในการแยกจ่าย คือการที่ทุกคนได้ส่วนแบ่งที่เท่าๆ กัน เช่น การแบ่งเค้ก 8 ชิ้นให้คน 8 คน ก็จะได้คนละเท่าๆ กัน ความยุติธรรมอีกแบบคือ ความยุติธรรมในขั้นตอนการแบ่ง ซึ่งเราเจอกันบ่อยๆ คือการส่งชิ้นส่วนไปชิงโชค มีรถอยู่ 1 คันเป็นรางวัลใหญ่ ถ้าเราเอารถมาแบ่งให้ทุกคนเท่าๆ กัน เราก็คงไม่เหลือซากรถ เราจึงต้องมีขั้นตอนการจัดการการแบ่ง ด้วยการให้มีการจับฉลาก ซึ่งเป็นวิธีที่ทุกคนรู้สึกว่า เป็นวิธีที่ยุติธรรมดี ทีนี้ความยุติธรรมที่มีผลต่อความผูกพันกับองค์กรคือ ความยุติธรรมของขั้นตอนการปฏิบัติต่อพนักงานหรือ ความยุติธรรมในขั้นตอนการแบ่งนั่นเอง แสดงว่า พนักงานต้องการเห็นการปฏิบัติที่มีขั้นตอนที่ถูกต้องยุติธรรม ทำแบบเดียวกันต้องได้ผลเท่ากัน มีความยุติธรรมในการประเมินผลงานที่ชัดเจนแน่นอน มีการเลื่อนขั้นที่ยุติธรรมเหมาะสม ทั้งนี้เพราะการที่พนักงานรู้สึกว่า องค์กรนั้นมีความยุติธรรมโปร่งใสก็เท่ากับการเปิดโอกาสให้ทุกคนได้มีโอกาสทั้งในการเลื่อนขั้นหรือได้รับโบนัสเงินเดือนที่เท่าเทียมกัน ความเหลื่อมล้ำก็จะไม่มี พนักงานทุกคนก็จะหน้าชื่นตาบาน เพราะทำดีได้ดี ทำไม่ดีได้ไม่ดี การสื่อสารถึงเหตุผลของการเลื่อนขั้นใครให้ทุกคนทราบ การมีวิธีการพิจารณาความชอบที่ชัดเจน จึงเป็นการสร้างความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กรได้ ดังนั้น หากองค์กรต้องการให้พนักงานผูกพันกับองค์กรแล้ว นอกจากจะทำให้พนักงานเขารู้สึกว่าองค์กรสนับสนุนการทำงานเขา ยังต้องสร้างให้พนักงานรู้สึกถึงความยุติธรรมของขั้นตอนการปฏิบัติต่อพนักงาน ด้วยนะ คราวหน้าจะกล่าวถึงปัจจัยอีกตัวคือ วิสัยทัศน์และภาพลักษณ์ขององค์กร Read more →
ธรรมชาติของความสูญเสีย
เราทราบแล้วว่า ความสูญเสียหลักมี 16 ประการ ทุกบริษัทมีเหมือนกันหมด เพียงแต่สัดส่วน ของความสูญเสียที่เกิดขึ้นนั้น ไม่เท่ากัน บางแห่งอาจมีความสูญเสียบางอย่าง มากกว่าบางอีกแห่ง แต่ธรรมชาติของความสูญเสียนี้ ไม่เกิดขึ้นอย่างที่เป็นเอกเทศ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ความสูญเสียไม่เกิดขึ้น เพียงความสูญเสียเดียวเท่านั้น โดยปรกติแล้ว เมื่อเกิดความสูญเสียอย่างหนึ่ง จะเกิดความสูญเสียอย่างอื่นๆ ตามมาเสมอ เช่น หากเครื่องจักรที่เราใช้งานนั้น เกิดความเสียหายขึ้น ไม่สามารถที่จะทำงานได้ เราจะเกิดความสูญเสียที่เกิดจาก เครื่องจักรเสียเกิดขึ้น เมื่อซ่อมเสร็จก็เดินงานได้ ตอนที่จะเริ่มเดินเครื่องใหม่นั้น เราก็จะมีความสูญเสีย ที่เกิดจากการเริ่มต้น เดินเครื่องขึ้นมา และเมื่อเดินเครื่องจักรใหม่ๆ ก็จะต้องเริ่มเดินที่ความเร็วต่ำก่อน แล้วจึงจะเร่งเครื่องไปที่ความเร็วที่ต้องการ จนกลับเข้าสู่สภาวะปรกติ นั้นคือเกิดความสูญเสีย ที่เกิดจากความเร็ว ไม่ได้ตามที่กำหนดอีก เรามาพิจารณาลงไปอีก ในกลุ่มความสูญเสีย ที่เกี่ยวกับแรงงานบ้าง หากพิจารณาในภาพที่ 1 จะเห็นว่าเมื่อเครื่องจักร เสียไปแล้วนั้น พนักงานที่เดินเครื่องนั้น ก็จะเกิดการไม่ได้ทำการผลิต เนื่องจากต้องรอเครื่องจักร ให้ทำการซ่อมให้เสร็จก่อนนั้น ก็จะเกิดความสูญเสีย ที่เกิดจากการบริหารจัดการขึ้น ไม่เพียงแต่พนักงานผู้ที่เดินเครื่องนั้น เพียงคนเดียว หากสายการผลิตเป็นการผลิต แบบต่อเนื่อง พนักงานทุกคน ในการการผลิตนั้น ต้องหยุดรอทั้งหมด ความสูญเสียก็จะเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ เรามาพิจารณา ในกลุ่มการใช้พลังงานบ้าง หากสายการผลิตของเรานั้น มีการใช้เตาอบ จะเห็นว่าเมื่อเครื่องจักรเสียไป สายการผลิตหยุดลง แต่เตาอบไม่สามารถหยุดได้ ยังคงต้องเดินต่อไป เพื่อรักษาอุณหภูมิไว้ เพื่อที่จะรองรับกับการผลิต ที่จะเกิดขึ้นหลังจากที่ซ่อม เครื่องจักรเสร็จแล้ว ในช่วงเวลาดังกล่าวถึงแม้นว่า จะใช้พลังงานน้อยลง แต่อย่าลืมว่าเราไม่มีผลิตภัณฑ์ ที่ผลิตออกมาเป็นการเดินเครื่องตัวเปล่า ซึ่งเป็นความสูญเสีย อีกทั้งยังมีความสูญเสีย เรื่องของใช้พลังงานร่วมด้วยอีก เพราะพลังงานถูกใช้ไป โดยไม่มีการผลิตของออกมา ดังนั้นจะเห็นว่า ความสูญเสียที่เกิดขึ้น เพียงอย่างเดียวจะส่งผล ให้เกิดความสูญเสียอย่างอื่น ตามมาอีกอย่างมากมาย ในทางตรงกันข้าม หากเราสามารถลดความสูญเสียลงไปได้ แม้นเพียงอย่างเดียว เราก็สามารถที่จะลดความสูญเสียต่างๆ ลงมาได้อย่างมากเช่นกัน การลดความสูญเสีย เป็นที่ทราบแล้วว่า ความสูญเสียนั้น ก่อให้เกิดผลที่ไม่ดีต่อองค์กรอย่างไร เราจึงต้องหาทางที่จะขจัด หรือว่าลดความสูญเสียนั้นๆ ลงให้ได้ คำถามจึงมาลงที่ว่า ใครควรต้องเป็นผู้มีหน้าที่ ในการหาทางลดความสูญเสียลง การที่จะบอกว่าเป็นหน้าที่ของใครนั้น ก็คงต้องดูความรับผิดชอบกันก่อน โดยปรกติการเดินเครื่องจักรนั้น เป็นหน้าที่ของพนักงานฝ่ายผลิต เมื่อเครื่องจักรเกิดปัญหา ก็จะเป็นหน้าที่ ของฝ่ายซ่อมบำรุง ดังนั้นเมื่อเครื่องจักร มีปัญหาเกิดขึ้นไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม ฝ่ายผลิต และฝ่ายซ่อมบำรุง ก็คงหนีความรับผิดชอบนี้ ไปไม่ได้ ฝ่ายวิศวกรรมที่เป็นผู้ออกแบบ ติดตั้งเครื่องจักรถึงแม้นว่า จะส่งมอบเครื่องจักร กับทางฝ่ายผลิตไปแล้ว แต่อย่าลืมว่าความเสียหายบางอย่าง ก็เกิดจากการออกแบบเครื่องจักร ที่ไม่เหมาะสมด้วย ดังนั้นฝ่ายวิศวกรรม ก็จะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้เช่นกัน และในการผลิตนั้นหากมีของเสียเกิดขึ้น ฝ่ายควบคุมคุณภาพ คงต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา แต่ก็ต้องยอมรับว่า การที่ผลิตของเสียออกมาได้นั้น เป็นเพราะการไม่สามารถรักษา ความสามารถของกระบวนการผลิตเอาไว้ได้ จึงได้เกิดของเสียเกิดขึ้น ผู้บริหารก็ต้องมีส่วน ในการที่จะขจัดความสูญเสียลง เนื่องจากเป็นผู้ที่สามารถ ชี้นำสั่งการต่างๆ ได้ หากแม้นพนักงานพบความสูญเสีย เกิดขึ้นในโรงงาน แต่ผู้บริหารเพิกเฉยต่อความสูญเสียนั้นๆ ก็ไม่มีทางที่จะลงความสูญเสียนั้นๆ ลงไปได้ จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าใครก็ตาม ที่เกี่ยวข้องกับโรงงาน ก็ย่อมมีส่วนที่จะลดความสูญเสียต่างๆ ลงด้วยกันทั้งสิ้น หากจะชี้ชัดลงไปนั้นก็คือ การลดความสูญเสียต่างๆ นั้นเป็นหน้าที่ ของทุกคนในองค์กร Read more →
TPM คืออะไร
TPM ย่อมาจากคำว่า Total Productive Maintenance แปลเป็นไทยว่า การบำรุงรักษาทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วม หลักการของ TPM นั้นเริ่มต้นการพัฒนามาจาก การดำเนินการ PM หรือการทำ Preventive Maintenance และได้พัฒนาการดำเนินการมาเรื่อยๆ โดยความคิดพื้นฐาน เริ่มจากการทำการบำรุงรักษาเครื่องจักร เพื่อไม่ให้เสีย และสามารถเดินเครื่อง ตามที่ต้องการได้ โดยการใช้ ทั้งการบำรุงรักษาตามคาบเวลา (Time Base Maintenance) การบำรุงรักษาตามสภาพของเครื่องจักร (Condition Base Maintenance) และ การเปลี่ยนแปลงเครื่องจักร ที่บำรุงรักษาง่ายขึ้น และมีอายุการใช้งานนานขึ้น (Maintenance Prevention) แต่เครื่องจักร ก็ยังเสียอยู่ และมีค่าใช้จ่าย ในการบำรุงรักษาสูงมาก ความคิดเรื่องการทำการบำรุงรักษา เพื่อให้เครื่องจักรไม่เสียนั้น จึงเริ่มจากการตรวจสอบ ให้ทราบถึงการเสื่อมสภาพ ของชิ้นส่วนต่างๆ ก่อนที่เครื่องจักรนั้นๆ จะเสียหาย ดังนั้นจึงต้องมีผู้ที่มีความสามารถ ในการตรวจสอบเครื่องจักร ซึ่งต้องเป็นผู้ที่สามารถรับรู้ การเสื่อมสภาพได้อย่างแม่นยำ ผู้ที่จะทำเช่นนี้ได้อย่างดีที่สุดก็คือ พนักงานเดินเครื่อง ต่อมาจึงได้พัฒนามาเป็น การบำรุงรักษาด้วยตนเอง หรือ Autonomous Maintenance ซึงเป็นเอกลักษณ์ของ TPM การดำเนินการ การบำรุงรักษาด้วยตนเองหรือ Autonomous Maintenance จึงเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของ TPM แต่การดำเนินการเพียงเพื่อให้เครื่องจักรเสียเป็oศูนย์ นั้นยังไม่เพียงพอ TPM จึงมุ่งไปสู่การเป็นผู้ผลิตระดับโลก หรือ World Class Manufacturing โดยนำกิจกรรมอื่นมาผนวกรวมด้วยเป็น 8 กิจกรรมหลักของการดำเนินการ TPM หรือที่เรียกว่า 8 เสาหลักของ TPM นั่นเอง Read more →
Employee Engagement 1
Employee Engagement 1 คำศัพท์ TPM วันละคำ – Employee Engagement บทความโดย : อ.บรรณวิท มณีเนตร ตอนนี้มีหลายคนพูดเรื่องการสร้างความผูกพันของพนักงาน หรือที่เรียกว่า Employee Engagement ซึ่งมีที่ปรึกษาทั้งไทยและเทศเข้ามาทำตลาดเรื่องนี้กันอย่างแพร่หลาย แต่เคยรู้ไหมว่า จริงๆ และ Employee Engagement นั้นมีความเป็นมาอย่างไร มีที่มาที่ไปอย่างไร มีกี่ประเภท ทำไมเรื่องนี้จึงมีสำคัญ และ จะทำให้เกิดความผูกพันนั้นทำอย่างไร Engage หรือ ภาษาไทยเรียกว่า หมั้นหมาย เป็นความหมายที่ดีมากและตรงกับลักษณะของคำๆ นี้จริงๆ ลองนึกถึงว่า ถ้าเราหมั้นหมายกับใครแล้วอะไรจะเกิดขึ้น เราแค่หมั้นนะ ยังไม่ได้แต่งงานนะ ลองหลับตานึกดูนะครับ … เราคงคิดถึงคู่หมั้นเราทุกเวลาเลยนะ นอกจากคิดแล้วยังพยายามสรรหาโน่นนี่ให้คู่หมั้นของเราอยู่เสมอ มีความฝันมีความรู้สึกดีๆ กับเขา มีอารมณ์ร่วมกับเขาเมื่อเรารับรู้เรื่องราวต่างๆ ของเขาเข้ามา มันช่างชื่นใจอะไรอย่างนี้ หากเราเปลี่ยนจาก คู่หมั้น มาเป็นองค์กร การที่เราจะมีความรู้สึกแบบเดียวกับที่เรารู้สึกกับคู่หมั้นของเรานั้น เราจะเป็นอย่างไร? เราคงจะคิดถึงแต่องค์กรของเรา เราพยายามสรรหาวิธีการทำงานหรือแนวทางต่างๆ มาทำให้องค์กรของเราดีขึ้น มีความฝันและความรู้สึกร่วมกับองค์กร ไม่ว่าองค์กรจะเป็นอย่างไร เราพร้อมที่จะร่วมหัวจมท้ายไปกับองค์กรนี้ นี่คือความหมายของ Engage คำว่า Engagement นั้นถูกนำมาใช้ครั้งแรกในปี 1990 โดย คาฮ์น ได้เสนอขึ้นมาเป็นคนแรก โดยคาฮ์นเสนอว่า คนที่จะมีความผูกพันหรือ Engage นั้น จะแสดงออกใน 3 อย่างคือ การกระทำ ความคิด และมีอารมณ์ร่วมกับสิ่งนั้น คาฮ์น ไม่ได้จำเพาะเจาะจง ว่าจะต้อง Engage กับอะไร เราสามารถ Engage ได้กับทุกอย่างที่เราอยากจะ Engage ด้วย ไม่ว่าจะเป็นทีมฟุตบอล(จะหงส์หรือปีศาจหรือปืนก็ว่ากันไป) หรือจะเป็นกีฬาที่ชอบเช่นจักรยาน หรือจะเป็นEngage กับองค์กรการกุศลที่เราเป็นอาสาสมัครอยู่ แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ตามแนวคิดของคาฮ์นนี้เมื่อเรา Engage เราต้องมี 3 อย่าง คือ ทำเพื่อสิ่งนั้น คิดเกี่ยวกับสิ่งนั้นอยู่เสมอ มีความรู้สึกผูกพันกับสิ่งนั้น ดังนั้น การ Engage จึงมีหลายรูปแบบ หลากมิติ เช่น การ Engage กับองค์กร การ Engage กับงาน การ Engage กับหัวหน้างาน หรือแม้นแต่ Engage กับเพื่อนร่วมงาน ก็ได้ เมื่อเรามองเห็นภาพของคำว่า Engage หรือ ผูกพัน แล้วนั้น เราลองนึกย้อนมาว่า ถ้าเราจะเล่นเรื่อง Employee Engagement เราคงต้องมาคิดให้ดีๆ แล้วว่า เราอยากจะให้พนักงาน Engage หรือ ผูกพัน กับเรื่องอะไร เพราะถ้าแยกประเด็นเรื่องนี้ไม่ชัดเจน คงจะจัดสรรหาแนวทางที่จะไปทำให้เกิดความผูกพัน ก็คงจะเป็นไปไม่ได้ อ.บรรณวิท มณีเนตร Read more →