การดำเนินการต่างๆ ส่วนใหญ่ จะเป็นการดำเนินการ ในส่วนของโรงงานเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ไม่ใช่ว่าการดำเนินการนั้น จะไม่ให้ความสนใจ ในส่วนของสายสำนักงาน อันที่จริงแล้วสายสำนักงาน ก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน เพราะส่วนสำนักงานนั้น ก็เป็นส่วนสนับสนุน ในส่วนของสายสำนักงาน ก็จะดำเนินกิจกรรม 5 ส เพื่อให้การเกิดการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน ของสายสำนักงานให้ดีมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดหน้าที่ ในการทำงานอย่างชัดเจน ของแต่ละคนและแต่ละคน มีเอกสารใดบ้างที่ต้องรับผิดชอบ และดำเนินการจัดการอย่างไร การดำเนินการยังลงลึงไปถึงว่าการดำเนินการต่างๆ นั้นมีขั้นตอนอย่างไร ทำไมจึงต้องมีขั้นตอนนั้น และสามารถที่จะลดขั้นตอนนี้ลงได้ไหม ทำไมขั้นตอนนี้จึงต้องมี สามารถรวมขั้นตอนนี้ กับขั้นตอนก่อนหน้า ได้ หรือไม่ สามารถทำให้ขั้นตอนนั้นๆ สามารถทำได้เร็วขึ้นหรือไม่ คงไม่มีใครอยากทำงาน เหมือนกับงานราชการเมื่อยี่สิบปีที่แล้ว ที่ต้องกรอกแบบฟอร์มนี้ ที่โต๊ะนี้ พร้อมสำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประชาชน แล้วไปยื่นที่โต๊ะนั้น เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง แล้วไปยื่นเรื่องที่โต๊ะโน้นเพื่อไปเข้าคิว ในการดำเนินการ กว่าจะดำเนินการเรื่องเดียวต้องเสียเวลา 1 วัน หากลูกค้าต้องการซื้อของ ของเราสักชิ้นพร้อมบิลหนึ่งใบ ขั้นตอนของเราจะเป็นอย่างไร? ลูกค้าสามารถรับของได้ ในเวลาเท่าไร หลังจากที่ออกใบสั่งซื้อ นี่คือเรื่องของการปรับปรุงสายสำนักงานทั้งสิ้น แต่การทำอย่างนี้ ให้ได้พนักงานสายสำนักงาน ต้องมีความสามารถ ในการวิเคาะห์ปัญหา และเข้าใจการใช้เครื่องมือในการคิดต่างๆ
บทความแนะนำ
Related Posts
TPM FAQ
Q1) การทำ TPM ต่างจากการทำ การบำรุงรักษาทั่วไปอย่างไร? Answer) วัตถุประสงค์ของ TPM ต้องการให้เกิด 3 ศูนย์ คือ เครื่องเสียเป็นศูนย์ อุบัติเหตุเป็นศูนย์ ของเสียเป็นศูนย์ ซึ่งอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ทุกแผนก พร้อมทั้งการให้การสนับสนุน จากผู้บริหารทุกระดับ จากบนสุดถึงพนักงานระดับล่าง และใช้กลุ่มย่อยเป็นหลักในการดำเนินการ จากความหมายของ TPM การดำเนินการ TPM จึงทั้งลึก และกว้างกว่าการบำรุงรักษาธรรมดา ที่ต้องการเพียงแค่ ทำไปตามคาบเวลาที่กำหนดไว้เท่านั้น การบำรุงรักษาโดยทั่วไป จะเป็นเพียงเครื่องมือหนึ่ง ในการดำเนินการของ TPM เพื่อให้เกิดเครื่องเสียเป็นศูนย์เท่านั้น Q2) ทำไมต้องทำ TPM Answer) หากหน่วยงานของท่าน เป็นงานที่ขายได้โดยไม่ต้องแข่งขัน ก็ไม่แนะนำให้ทำ TPM เพราะจะเป็นการเสียเวลาเปล่า เอาเวลาที่มี ไปใช้ในการผลิตดีกว่า แต่หากท่านเป็นหน่วยงานที่มีการแข่งขัน ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้พนักงานทุกคน หันกลับมามองที่ปัจจุบันตรงหน้าของพนักงานคือ เครื่องจักรว่ามันสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ แล้วหรือยัง หากยังจะทำอย่างไรให้ใช้งานได้เต็มที่ และที่สำคัญคือการให้พนักงาน ที่เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุด ได้มีโอกาสพัฒนา เป็นผู้ที่มีความสามารถมากขึ้น และกลับมาพัฒนางานที่ตนเองทำ และบริษัทฯ ให้ดีขึ้นตามมา การดำเนินการของ TPM นั้นเน้นที่หน้างานที่พนักงาน ทำงานให้มีสภาพที่ดีขึ้น และเน้นจากภายในองค์กรไปสู่ภายนอก Q3) ถ้าจะทำ TPM จะเริ่มที่ไหน Answer) เริ่มผู้บริหารสูงสุดที่นั่งอยู่ที่บริษัทฯ เพราะไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม หากผู้บริหารสูงสุดเข้าใจ เอาจริง เอาจัง ก็สำเร็จหมด แต่ถ้าไม่เอาไม่เข้าใจ และมีแต่ คุณ-นะ-ทำ ก็แทบไม่มีโอกาสประสบความสำเร็จ หากผู้บริหารต้องการทำ ต่อมาก็ต้องเริ่มที่หน่วยงานช่าง เพราะถ้าหน่วยงานนี้เข้าใจว่า การที่ทำ TPM จะเป็นการช่วยให้ช่างทำงานเบาลง เพราะงานบางอย่าง จะถูกส่งไปให้พนักงานคุมเครื่องทำ และช่างต้องเปลี่ยนมาทำงาน ในลักษณะที่เป็นงานวางแผนมากขึ้น เป็นการสอนงานมากขึ้น ก็จะสามารถดำเนินการได้ เพราะถ้าช่างยังคิดว่าพนักงานผลิต ชอบทำเครื่องเสีย เดินเครื่องไม่ถูกต้อง พนักงานเดินเครื่องไม่ฉลาดพอ ก็จะทำให้ช่างไม่อยากถ่ายทอดความรู้ไปให้พนักงานเดินเครื่องได้ เพราะทัศนคติที่ผิดนี้ การเริ่มที่พนักงานผลิต จะไม่ใช่เรื่องยากหากช่างช่วยในการแนะนำ และพร้อมที่จะเป็นผู้ฟูมฟัก (Mentor) ให้พนักงานเดินเครื่องให้ทำงานได้อย่างถูกต้อง Q4) ถ้าจะทำแต่ AM อย่างเดียวได้ไหม ไม่อยากทำเสาหลักอื่น Answer) วัตถุประสงค์คืออะไร ถ้าต้องการได้รับการรับรองว่าทำ TPM ก็ไม่ได้ ต้องทำทุกเสาหลัก แต่ถ้าต้องการการเปลี่ยนแปลงในองค์กร เพื่อให้พนักงานเดินเครื่อง มีส่วนร่วมในการช่วยแก้ปัญหา ก็ไม่ได้มีข้อห้ามใดกำหนดไว้ แต่เมื่อทำไปแล้วจะพบว่า เสาหลักอื่นจะขึ้นมาเอง เช่น เมื่อทำ AM ไปได้สักระยะหลังจากที่ติด Tag ไป ก็ต้องการปลด Tag และไม่อยากให้ปัญหาเดิมกลับมาเกิดขึ้นอีก ก็ต้องมีการบำรุงรักษาตามคาบเวลา ซึ่งนั่นก็คือ Planned Maintenance และหากทำไปเรื่อยๆ เริ่มมี Idea ที่จะทำการปรับปรุง โมดิฟายด์เครื่องจักนั่นก็คือ Focus Improvement นั่นเอง ซึ่งถ้าจะบอกว่าไม่ทำ ก็ได้ แต่ในความเป็นจริงก็ต้องทำอยู่ดี Q5) Tag ติดที่ไหนได้บ้าง Answer) Tag คือป้ายที่เรานำไปติดไว้ เพื่อชี้บ่งปัญหาที่เกิดขึ้น... Read more →
KPIs
ในการดำเนินกิจกรรมใดๆ ก็ตามสิ่งที่สำคัญประการหนึ่งคือการวัดความสำเร็จของสิ่งที่ทำไปว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ และจะดำเนินการต่อไปอย่างไร ตัวชี้วัดกิจกรรมนั้นเราอาจรวมเรียกว่า KPIs หรือ Key Performance Indicators ซึ่งจะเราต้องกำหนดออกมาให้ได้ก่อนที่จะดำเนินการว่าเรื่องใดเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญหรือเป็น Key ของการดำเนินการนั้นๆ แล้วอะไรคือเป้าหมายที่ต้องการ ในการดำเนินการ TPM ตัวชี้วัดมีหลายตัว ในที่นี้จะของกล่าวถึงตัวที่เป็น Key ที่จำเป็นโดยแบ่งเป็น กลุ่มๆ จาก Productivity , Quality, Cost, Delivery, Safety, Moral Productivity Availability หรือ ความพร้อม Availability เป็นการคำนวนเพื่อหาสัดส่วนของเวลาที่เครื่องจักรรับภาระจริงกับเวลาที่กำหนดให้เครื่องรับภาระ หรือ Availability = เวลาที่เครื่องจักรรับภาระจริง เวลาที่กำหนดให้เครื่องจักรรับภาระ เวลาที่กำหนดให้เครื่องจักรรับภาระ หมายถึง เวลาที่วางแผนไว้ให้เครื่องจักรต้องทำงาน เช่น หาก 1 กะกำหนดให้ทำงาน 8 ชั่วโมง หรือ 480 นาที แต่วางแผนให้มีการทำการบำรุงรักษาก่อนเรื่องงาน 15 นาที ดังนั้นเวลาที่กำหนดให้เครื่องจักรรับภาระเท่ากับ 480-15 นาที หรือ 465 นาที ในระหว่างที่ทำการผลิตนั้นเครื่องจักรเกิดเสียขั้นอีก 30 นาที ดังนั้นเวลาที่เครื่องจักรรับภาระจริงเท่ากับ 465-30 นาที หรือ 435 นาที ดังนั้น Availability = 435/465 = 0.935 หรือ 93.5 % Performance หรือ สมรรถนะ Performance เป็นการคำนวนเพื่อหาว่าในระหว่างที่เครื่องจักรเดินนั้นมีความเร็วเป็นเท่าไรเมื่อเทียบกับความเร็วที่กำหนด และ มีการหยุดสั้นๆที่ไม่ได้บันทึกอยู่หรือไม่ ดังนั้น ค่า Performance จึงประกอบด้วย 2 ตัว คือ อัตราการหยุดสั้นๆ คำนวนจาก จำนวนของผลิตได้ X รอบเวลาที่ใช้ในการผลิต เวลาที่เครื่องจักรรับภาระ รอบเวลาที่ใช้ในการผลิตคือ เวลาที่ใช้ในการผลิตของ 1 ชิ้น หรือ Cycle Time หากจำนวนที่ผลิตได้ใน 1 กะคือ 800 ชิ้น 1 ชิ้นใช้เวลา 0.6 นาที ดังนั้น อัตราการหยุดสั้นๆ = 700 x 0.6 435 = 0.9655 หรือ 96.55% อัตราความเร็วที่ใช้ในการเดินเครื่อง คำนวนจาก รอบเวลามาตรฐานในการผลิต รอบเวลาที่ใช้ในการผลิต หากรอบเวลาที่ใช้ในการผลิตมาตรฐาน คือ 0.5 นาที ต่อ ชิ้น Performance หรือ สมรรถณะ = อัตราการหยุดสั้นๆ x อัตราความเร็วในการเดินเครื่อง Quality Rate หรือ อัตราของดี Quality Rate เป็นการคำนวนหาค่าสัดส่วนของดี กับของที่ผลิตได้ทั้งหมด... Read more →
Factory Digest Magazine Vol.3
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านทุกท่าน Factory Digest ฉบับนี้ ก็เป็นฉบับที่ 3 แล้ว ที่เราได้พบกันทุก 2 เดือน หวังว่าทุกท่านคงจะสบายดี ผ่านหน้าฝนมาได้อย่างสุขภาพดีกันทุกคน ฉบับนี้เนื้อหาเรายังคงอ่านสบายๆ เพลินๆ ตามเดิม ด้วยเรื่องของการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันด้วยแนวคิดใหม่ๆ ซึ่งแปลกแต่น่าสนใจ เทคนิคการจัดการความปลอดภัยที่นำไปใช้ได้จริง ซึ่งจะทราบถึงความสำคัญของความปลอดภัยกับผลผลิตไดัด้วย เรื่องของการบริหารร่างกาย เพื่อหนีจากอาการกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรังที่เราๆท่านๆ คนทำงานออฟฟิศเป็นกันบ่อย รวมถึงเรื่องของการจัดการความรู้แบบใหม่ที่ง่ายต่อทั้งคนเรียน คนสอนและคนบันทึกด้วยระบบ One Point Lesson และสุดท้ายด้วยเรื่องการจัดการบำรุงรักษาด้วยเทคนิคของ SMED กองบรรณาธิการ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า Factory Digest ฉบับนี้จะทำให้ท่านผู้อ่านได้รับความรู้และนำเอาไปใช้งานได้อย่างเต็มที่ Click เพื่ออ่านต่อ Factory Digest Magazine Vol.3 บรรณวิท มณีเนตร 23/10/2558 Read more →
Employee Engagement 5
Employee Engagement 5 บทความโดย : อ.บรรณวิท มณีเนตร ต่อจากครั้งก่อนที่ว่า การที่พนักงานจะมีความผูกพันกับองค์กรนั้น ปัจจัยแรกคือ การรับรู้ของพนักงานว่าองค์กรสนับสนุนการทำงานของเขา เราก็จะมาพูดถึงปัจจัยตัวถัดไปที่งานวิจัยของ Sak กล่าวถึงก็คือ ความยุติธรรมของขั้นตอนการปฏิบัติต่อพนักงาน เรื่องความยุติธรรมนี้ พูดกันได้ยาวเลย เพราะคนเรานั้นจะรู้สึกถึงความยุติธรรมหรือไม่ก็ด้วยการตีความของสิ่งที่ได้รับมาว่าคุ้มค่ากับสิ่งที่ลงทุนไปหรือไม่ แม้นแต่ลิงยังรู้จักเรื่องของความยุติธรรมเลย เมื่อลิงสองตัวทำแบบเดียวกันแต่ได้ผลตอบแทนที่ไม่เท่ากัน (ผู้ทดลองทำการทดลองให้ลิงสองตัวทำแบบเดียวกัน ตัวหนึ่งได้องุ่น อีกตัวไปแตงกวา ซึ่งแตงกวาในการรับรู้ของลิงคือ ผลตอบแทนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับองุ่น) คลิป https://www.youtube.com/watch?v=meiU6TxysCg ความยุติธรรมมี 2 แบบใหญ่ๆ คือ ความยุติธรรมในการแยกจ่าย คือการที่ทุกคนได้ส่วนแบ่งที่เท่าๆ กัน เช่น การแบ่งเค้ก 8 ชิ้นให้คน 8 คน ก็จะได้คนละเท่าๆ กัน ความยุติธรรมอีกแบบคือ ความยุติธรรมในขั้นตอนการแบ่ง ซึ่งเราเจอกันบ่อยๆ คือการส่งชิ้นส่วนไปชิงโชค มีรถอยู่ 1 คันเป็นรางวัลใหญ่ ถ้าเราเอารถมาแบ่งให้ทุกคนเท่าๆ กัน เราก็คงไม่เหลือซากรถ เราจึงต้องมีขั้นตอนการจัดการการแบ่ง ด้วยการให้มีการจับฉลาก ซึ่งเป็นวิธีที่ทุกคนรู้สึกว่า เป็นวิธีที่ยุติธรรมดี ทีนี้ความยุติธรรมที่มีผลต่อความผูกพันกับองค์กรคือ ความยุติธรรมของขั้นตอนการปฏิบัติต่อพนักงานหรือ ความยุติธรรมในขั้นตอนการแบ่งนั่นเอง แสดงว่า พนักงานต้องการเห็นการปฏิบัติที่มีขั้นตอนที่ถูกต้องยุติธรรม ทำแบบเดียวกันต้องได้ผลเท่ากัน มีความยุติธรรมในการประเมินผลงานที่ชัดเจนแน่นอน มีการเลื่อนขั้นที่ยุติธรรมเหมาะสม ทั้งนี้เพราะการที่พนักงานรู้สึกว่า องค์กรนั้นมีความยุติธรรมโปร่งใสก็เท่ากับการเปิดโอกาสให้ทุกคนได้มีโอกาสทั้งในการเลื่อนขั้นหรือได้รับโบนัสเงินเดือนที่เท่าเทียมกัน ความเหลื่อมล้ำก็จะไม่มี พนักงานทุกคนก็จะหน้าชื่นตาบาน เพราะทำดีได้ดี ทำไม่ดีได้ไม่ดี การสื่อสารถึงเหตุผลของการเลื่อนขั้นใครให้ทุกคนทราบ การมีวิธีการพิจารณาความชอบที่ชัดเจน จึงเป็นการสร้างความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กรได้ ดังนั้น หากองค์กรต้องการให้พนักงานผูกพันกับองค์กรแล้ว นอกจากจะทำให้พนักงานเขารู้สึกว่าองค์กรสนับสนุนการทำงานเขา ยังต้องสร้างให้พนักงานรู้สึกถึงความยุติธรรมของขั้นตอนการปฏิบัติต่อพนักงาน ด้วยนะ คราวหน้าจะกล่าวถึงปัจจัยอีกตัวคือ วิสัยทัศน์และภาพลักษณ์ขององค์กร Read more →
การบำรุงรักษาเชิงคุณภาพ
การบำรุงรักษาคุณภาพ คำนี้อาจเป็นคำใหม่ เราจะได้ยินคำว่า การบำรุงรักษา คือการซ่อมบำรุงเครื่องจักร แยกจากคำว่าคุณภาพ ซึ่งหมายถึงการผลิตผลิตภัณฑ์ ให้ได้ตามข้อกำหนด แต่การนำสองคำนี้มารวมกัน หมายความว่าอย่างไร เราต้องทำความเข้าใจ กับแนวคิดที่ว่า การที่จะไม่ให้ของเสีย ถูกส่งไปให้ลูกค้า เราต้องไม่ผลิตของเสีย การที่เราผลิตของเสียออกมานั้น เกิดจากการที่เครื่องจักรของเรา มีความผิดปรกติบางอย่าง ที่ทำให้เครื่องจักรนั้น เมื่อทำงาน มันไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้เครื่องจักรผลิตของเสียออกมา ต่อมาในการที่เครื่องจักรของเรา มีความสมบูรณ์แล้วนั้น เราก็ต้องมาพิจารณาอีกว่า เราต้องทำการปรับแต่งเครื่องจักรอย่างไร เพื่อให้เครื่องจักรเดินได้อย่างเหมาะสม ดังนั้นหากเราต้องการที่จะไม่ผลิตของเสียนั้น เราต้องทำให้เครื่องจักรของเรา ไม่มีสิ่งผิดปรกติ และต้องทำการควบคุมค่า ในการปรับแต่งต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์ กับคุณภาพให้ได้ เพื่อที่จะไม่ผลิตของเสียออกมา หากเราต้องทำเช่นนี้เราได้ เราต้องเริ่มจากการหาความสัมพันธ์ของชิ้นส่วน หรือค่าปรับตั้งต่างๆ กับปัญหาคุณภาพก่อน หรือที่เราเรียกว่า QA Matrix (เป็นเมตริกที่ใช้ในการบ่งบอกความสัมพันธ์ ของชิ้นส่วนของเครื่องจักร และค่าที่ต้องปรับตั้งกับคุณภาพ) หลังจากนั้นก็ต้องทำให้ชิ้นส่วนเครื่องจักร อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ และกำหนดค่าปรับตั้งต่างๆ ให้ได้ หลังจากนั้นก็ทำการศึกษา ว่าคุณภาพที่ออกมานั้น มีความแน่นอนในการผลิตอย่างไร หรือที่เราเรียกว่าเราต้องหาค่า Cp/Cpk ของเครื่องจักรของเราให้ๆ ได้โดยเทียบกับค่าสเปคต่างๆของเรา กิจกรรมนี้เราจะดำเนินการได้ หลังจากที่ทำกิจกรรม AM และ PM จนกว่าจะไม่ ที่ความเสื่อมสภาพแล้ว และพนักงาน ต้องมีความสามารถ ในการคิดอย่างเป็นระบบ หรือทำกิจกรรมการปรับปรุง อย่างต่อเนื่องมาแล้งพอสมควร นั่นคือกิจกรรมนี้จะทำหลังจาก AM ผ่าน PM ไปได้ 3 ขั้นตอนแล้ว Read more →