Related Posts
การทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ
การทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ การทำงานเป็นทีมเป็นปัจจัยที่สำคัญทีมีส่วนสำเร็จในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย แต่การที่จะบรรลุเป้าหมายได้อย่างราบรื่นของทีมงานมิได้ขึ้นอยู่กับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่ต้องอาศัยองค์ประกอบของการทำงานเป็นทีมที่ต้องมีเป้าหมาย มีหน้าที่ บทบาทของสมาชิก มีผู้นำที่มีความรอบรู้ นำไปสู่ทิศทางที่ถูกต้อง การมีส่วนร่วมของสมาชิกทีม ความไว้เนื้อเชื่อใจ การสื่อสาร สิ่งเหล้านี้เป็นองค์ประกอบการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้เข้าสัมมนาเข้าใจแนวความคิด และองค์ประกอบที่สำคัญของการทำงานเป็นทีม 2. เพื่อเสริมสร้างความกระตือรือร้น การมีส่วนร่วมของทีม ความรับผิดชอบ และการเป็นผู้นำ ผู้ตามของทีม หัวข้อการฝึกอบรม 1. องค์ประกอบและความหมายของการทำงานเป็นทีม 2. องค์ประกอบของการทำงานเป็นทีม 3. ขบวนการทำงาน เพื่อนำไปสู่เป้าหมายแห่งความสำเร็จ 4. สมาชิกและบทบาทของสมาชิกและผู้นำทีม 5. บรรยากาศที่ดีในการทำงานต่อการสร้างผลผลิตภายในองค์การ 6. การสร้างจิตสำนึกในการเพิ่มประสิทธิผลของทีมงาน วิธีการสัมมนา การบรรยาย เกมส์และกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ การประชุมจัดทำ Work shop และการนำเสนอผลงาน และอภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น คุณสมบัติผู้เข้าร่วมสัมมนา หัวหน้างาน และพนักงานทั่วไป ระยะเวลาในการสัมมนา 1 วัน Read more →
Problem Solving Technique
Problem Solving Technique ในการดำเนินการ II ซึ่งเป็นเสาหลักหนึ่งของ TPM เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ เป็นทักษะที่ต้องมีในการทำงานของพนักงานทุกระดับ ซึ่งการแก้ปัญหาอย่างมีระบบเป็นขั้นเป็นตอน ย่อมส่งผลให้สามารถป้องกันปัญหาเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าและสามารถแก้ไขปัญหาได้ดีกว่าการใช้ประสบการณ์ การคิดที่เป็นขั้นเป็นตอน รวมถึงการทำความเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้น การวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา การวางแผนการแก้ไขปัญหา และการวัดผลการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ทราบขั้นตอนในการกำหนดประเด็นปัญหา 2. เพื่อให้ทราบวิธีการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น 3. เพื่อให้สามรถนำระบบการคิดไปใช้ในการแก้ปัญหาที่หน้างานได้ หัวข้อการสัมมนา 1. ความหมายของปัญหา 2. ขั้นตอนการแก้ไขปัญหา 3. การกำหนดหัวข้อของปัญหา 4. ความเชื่อที่ผิดเมื่อปัญหาเกิดขึ้น 5. การทำความเข้าใจสภาพที่เกิดขึ้นอย่างเข้าใจ 6. หลักการ 3G เพื่อการแก้ไขปัญหา 7. การวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา 8. ทางเลือกในการแก้ปัญหา 9. การป้องกันไม่ให้ปัญหาเกิดขึ้นซ้ำ วิธีการสัมมนา การบรรยายและฝึกปฏิบัติ คุณสมบัติผู้เข้าสัมมนา ผู้บริหารระดับกลาง, ผู้บริหารระดับล่าง, หัวหน้างาน, ผู้ที่สนใจ ระยะเวลา 1 วัน หมายเหตุ ผู้เข้าอบรมควรนำ Corrective Action Request ของหน่วยงานตนเอง เข้ามาทำ Workshop ด้วย Read more →
การพัฒนาพนักงานด้วย OJT (บรรยาย)
การพัฒนาบุคลากรมีด้วยกันหลายวิธี หนึ่งในนั้นคือการสอนงานแบบ OJT หรือ On the Job Training การทำ OJT ไม่แค่การสอนงานเท่านั้น การทำ OJT ให้มีประสิทธิภาพหัวหน้างานหรือผู้สอนต้องมีความสามารถที่หลากหลายในการแปลงงานที่ทำออกมาเป็นขั้นตอนการเรียนรู้ การโค้ช การโน้มน้าว การสร้างแรงบันดาลใจ การสื่อสาร การฟัง ซึ่งล้วนเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝนทั้งสิ้น ทั้งนี้เพื่อทำให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จ เกิดพฤติกรรมอย่างที่ต้องการหลักสูตรการพัฒนาพนักงานด้วย OJT จึงออกแบบมาให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เรียนรู้เทคนิคต่างๆ ที่ต้องใช้ในการโค้ชเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เป็นโค้ชที่ดี วัตถุประสงค์ เพื่อให้เข้าใจความหมายของ On the Job Training เพื่อทราบทักษะที่ต้องใช้ในการ OJT เพื่อทราบเทคนิคในการ OJT เพื่อทราบขั้นตอนในการสอนงานแบบ OJT หัวข้อการสัมมนา ความหมายและความสำคัญของ On the Job Training ความแตกต่างระหว่าง OJT กับการพัฒนาบุคลากรรูปแบบอื่นๆ คุณสมบัติของผู้สอน OJT หน้าที่ของผู้สอน OJT การกำหนดเป้าหมายของการ OJT การเรียนแบบผู้ใหญ่ ลักษณะของผู้เรียนที่ดี การสื่อสารและการฟังของผู้สอน สร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนอย่างไร การให้คำแนะนำและการป้อนกลับที่ดี (Advice & Feedback) การเตียมหลักสูตรการในการสอน OJT วิธีการสัมมนา การบรรยาย คุณสมบัติผู้เข้าสัมมนา ผู้บริหาร, หัวหน้างาน ระยะเวลา 1 วัน วิทยากร อ. บรรณวิท มณีเนตร หมายเหตุ รุ่นละ 50 ท่าน Read more →
Visionary Leadership
Visionary Leadership วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้เข้าฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจในศาสตร์ด้านVisionary Leadership 2. เพื่อให้ผู้เข้าฝึกอบรมมีทักษะความสามารถ ในการสร้างวิสัยทัศน์ 3. เพื่อให้ผู้เข้าฝึกอบรมได้มีโอกาสและเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ และประสบการณ์ระหว่างกัน หัวข้อการฝึกอบรม • วิสัยทัศน์กับความคิดเชิงอนาคตและความคิดเชิงกลยุทธ์ • คุณลักษณะของวิสัยทัศน์ที่ดีและไม่ดี • การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและKeySuccessFactorกับการสร้างวิสัยทัศน์ • ขั้นตอนและกระบวนการสร้างวิสัยทัศน์ • ขอบเขตและเนื้อหาในวิสัยทัศน์ • กรณีศึกษาวิสัยทัศน์ต่างๆ • ปัจจัยสำคัญในการนำวิสัยทัศน์ไปสู่การปฏิบัติจริง • VisionaryLeadership • การพัฒนาภาวะผู้นำสู่การเป็น Visionary Leadership วิธีการฝึกอบรม ใช้เทคนิคการฝึกอบรมเชิงบูรณาการ ได้แก่ การบรรยาย (Lecture) การสาธิต (Demonstration) การฝึกปฏิบัติ (Practicing) การระดมสมอง (Brain storming) และอื่นๆ ผู้เข้าฝึกอบรม ตามที่หน่วยงานกำหนด ระยะเวลาในการฝึกอบรม 1 วัน Read more →
การวางแผนผลิตแบบ Lean และ ระบบการดึงแบบซุปเปอร์มาร์เก็ต ร่วมกับ KANBAN
การวางแผนผลิตแบบ Lean และ ระบบการดึงแบบซุปเปอร์มาร์เก็ต ร่วมกับ KANBAN วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความเข้าใจและความสามารถในการวางแผน และนำใช้การวางแผนการผลิตแบบดึงโดยใช้ซุปเปอร์มาร์เก็ตและ KANBAN เพื่อสร้างความเข้าใจ และนำใช้หลักการของHeijunka การปรับระดับการผลิต เพื่อช่วยในการออกแบบ พัฒนา และนำใช้ระบบการดึงผ่านซุปเปอร์มาร์เก็ตเพื่อปรับปรุงการควบคุมการผลิต และการบริหารสินค้าคงคลัง เนื้อหาของหลักสูตร การกำหนด : เป้าหมายการวางแผน การวัด : ผลการดำเนินงานกระบวนการวางแผนปัจจุบัน การวิเคราะห์ : กระบวนการปัจจุบันเพื่อระบุโอกาสในการ ปรับปรุง การปรับปรุง : นำใช้ระบบวางแผนโดยดึงผ่านซุปเปอร์มาร์เก็ตด้วย Heijunka การควบคุม : จัดทำมาตรฐานการปฏิบัติ และการควบคุมด้วยสายตา คุณสมบัติผู้เข้าสัมมนา โปรแกรมนี้เหมาะสำหรับ ผู้บริหารที่สามารถกำหนดนโยบายการปรับปรุง ทีมงานการปรับปรุงระบบ พนักงานทั่วไปขององค์กรที่มีโอกาสมีส่วนร่วมกับขั้นตอนการปรับปรุง รูปแบบการสัมมนา แบบฝึกหัดในชั้นเรียน โดยสามารถอิงกับตัวอย่างจริงขององค์กรถ้ามีความพร้อมด้านข้อมูล Read more →