ในการดำเนินกิจกรรมใดๆ ก็ตามสิ่งที่สำคัญประการหนึ่งคือการวัดความสำเร็จของสิ่งที่ทำไปว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ และจะดำเนินการต่อไปอย่างไร ตัวชี้วัดกิจกรรมนั้นเราอาจรวมเรียกว่า KPIs หรือ Key Performance Indicators ซึ่งจะเราต้องกำหนดออกมาให้ได้ก่อนที่จะดำเนินการว่าเรื่องใดเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญหรือเป็น Key ของการดำเนินการนั้นๆ แล้วอะไรคือเป้าหมายที่ต้องการ ในการดำเนินการ TPM ตัวชี้วัดมีหลายตัว ในที่นี้จะของกล่าวถึงตัวที่เป็น Key ที่จำเป็นโดยแบ่งเป็น กลุ่มๆ จาก Productivity , Quality, Cost, Delivery, Safety, Moral

Productivity

Availability หรือ ความพร้อม
Availability เป็นการคำนวนเพื่อหาสัดส่วนของเวลาที่เครื่องจักรรับภาระจริงกับเวลาที่กำหนดให้เครื่องรับภาระ หรือ
Availability = เวลาที่เครื่องจักรรับภาระจริง
เวลาที่กำหนดให้เครื่องจักรรับภาระ
เวลาที่กำหนดให้เครื่องจักรรับภาระ หมายถึง เวลาที่วางแผนไว้ให้เครื่องจักรต้องทำงาน เช่น หาก 1 กะกำหนดให้ทำงาน 8 ชั่วโมง หรือ 480 นาที แต่วางแผนให้มีการทำการบำรุงรักษาก่อนเรื่องงาน 15 นาที ดังนั้นเวลาที่กำหนดให้เครื่องจักรรับภาระเท่ากับ 480-15 นาที หรือ 465 นาที
ในระหว่างที่ทำการผลิตนั้นเครื่องจักรเกิดเสียขั้นอีก 30 นาที ดังนั้นเวลาที่เครื่องจักรรับภาระจริงเท่ากับ 465-30 นาที หรือ 435 นาที
ดังนั้น Availability = 435/465 = 0.935 หรือ 93.5 %
Performance หรือ สมรรถนะ
Performance เป็นการคำนวนเพื่อหาว่าในระหว่างที่เครื่องจักรเดินนั้นมีความเร็วเป็นเท่าไรเมื่อเทียบกับความเร็วที่กำหนด และ มีการหยุดสั้นๆที่ไม่ได้บันทึกอยู่หรือไม่
ดังนั้น ค่า Performance จึงประกอบด้วย 2 ตัว คือ
อัตราการหยุดสั้นๆ คำนวนจาก

จำนวนของผลิตได้  X  รอบเวลาที่ใช้ในการผลิต
เวลาที่เครื่องจักรรับภาระ

รอบเวลาที่ใช้ในการผลิตคือ เวลาที่ใช้ในการผลิตของ 1 ชิ้น หรือ Cycle Time
หากจำนวนที่ผลิตได้ใน 1 กะคือ 800 ชิ้น 1 ชิ้นใช้เวลา 0.6 นาที

ดังนั้น อัตราการหยุดสั้นๆ = 700 x 0.6
435
= 0.9655 หรือ 96.55%

อัตราความเร็วที่ใช้ในการเดินเครื่อง คำนวนจาก

รอบเวลามาตรฐานในการผลิต
รอบเวลาที่ใช้ในการผลิต

หากรอบเวลาที่ใช้ในการผลิตมาตรฐาน คือ 0.5 นาที ต่อ ชิ้น

Performance หรือ สมรรถณะ = อัตราการหยุดสั้นๆ x อัตราความเร็วในการเดินเครื่อง

Quality Rate หรือ อัตราของดี
Quality Rate เป็นการคำนวนหาค่าสัดส่วนของดี กับของที่ผลิตได้ทั้งหมด

จำนวนของที่ผลิตทั้งหมด 700 ชิ้น เป็ของเสีย 10 ชิ้น ดังนั้น

OEE (Overall Equipment Effectiveness)
เกิดจากการคำนวนโดย

Breakdown Time หรือ เวลาที่เครื่องจักรเสีย
ก่อนที่จะรู้จักกับเวลาที่เครื่องจักรเสีย ขอให้เข้าใจความหมายของเครื่องจักรเสีย ว่าหมายความว่าอย่างไร เครื่องจักรเสียหมายถึงการที่เครื่องจักรสูญเสียการทำงานโดยสิ้นเชิง หรืออีกนัยหนึ่งคือไม่สามารถเดินได้เลย หากยังเดินได้แต่ไม่ได้ตามความเร็วที่กำหนด จะไม่ถือว่าเครื่องจักรเสีย โดยมากแล้วจะกำหนดเวลาเพื่อให้สะดวกแก่การบันทึก และการแก้ไขปัญหา เช่นอาจกำหนดว่าเครื่องเสียนั้นเครื่องต้องหยุดนานตั่งแต่ 10 นาที ขึ้นไป หากน้อยกว่านั้นจะเรียกว่า การหยุดสั้นๆ เป็นต้น เราอาจกำหนดให้มากกว่าหรือน้อยกว่านี้ก็ได้เพื่อมากำหนดการแก้ไขปัญหา
จำนวนเวลาที่เครื่องจักรเสียนั้นเริ่มนับหลังจากที่เครื่องจักรต้องหยุดทำงานลง และสิ้นสุดเมื่อเครื่องจักรสามารถกลับมาทำงานได้อีกครั้ง ดังนั้นหากเราลองมาพิจารณาดูว่าหลังจากที่เครื่องจักรเสียนั้นเกิดกิจกรรมอะไรตามมาอีก เริ่มจาก 1.พนักงานประจำเครื่องแจ้งหัวหน้างาน
2. หัวหน้างานแจ้งให้ฝ่ายช่างทราบ
3.ฝ่ายช่างรับทราบและกำหนดผู้ที่จะเข้าไปทำการซ่อม
4. ช่างทำการตรวจซ่อมหาสาเหตุ
5. ช่างทำการเบิกอะไหล่มาเปลี่ยน
6.ทำการเปลี่ยนอะไหล่
7.ทดลองเดินเครื่อง
8. ส่งเครื่องคืนให้ฝ่ายผลิต
ขั้นตอนทั้งหมดนี้นับรวมเป็นเวลาที่เครื่องจักรเสียทั้งสิ

พนักงาน
ประจำเครื่อง
แจ้งหัวหน้างาน
หัวหน้างาน
แจ้งให้ฝ่ายช่างทราบ
ฝ่ายช่างรับทราบ
และกำหนดผู้ที่จะ
เข้าไปทำการซ่อม
ช่างทำการ
ตรวจซ่อมหาสาเหตุ
ช่างทำการเบิก
อะไหล่มาเปลี่ยน
ทำการเปลี่ยน
อะไหล่
ทดลอง
เดินเครื่อง
ส่งเครื่องคืน
ให้ฝ่ายผลิต

Mean Time to Repair (MTTR) หรือ เวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการซ่อม
เวลาที่เฉลี่ยที่ใช้ในการซ่อมเมื่อเครื่องจักรเสีย เป็นการคำนวนโดยการใช้ เวลารวมที่เครื่องจักรเสียทั้งหมดมารวมกัน หารด้วยจำนวนครั้งที่เครื่องจักรเสียเพื่อหาเวลาเฉลี่ย

ค่านี้เป็นการบ่งชี้ ถึงความสามารถของช่าง ในการซ่อมเครื่องจักร ว่าสามารถคืนสภาพเครื่องจักร ให้ได้เร็วแค่ไหน หลังจากที่เครื่องจักรเสียไป หากมีค่ามาก ก็หมายถึงใช้เวลาในการซ่อมนาน แสดงว่าช่าง ไม่มีความคุ้นเคยกับเครื่องจักร หากใช้เวลาสั้น ก็แสดงว่าช่างมีความคุ้นเคย กับเครื่องจักร หรือเครื่องจักรนั้น ซ่อมได้ง่าย หากลองพิจารณา ถึงความหมายของเครื่องจักรเสีย ที่อธิบายไว้ข้างต้น หากเราต้องการลดเวลา ที่เครื่องจักรเสียลง เราต้องพิจารณาให้ทราบว่า Mean Time between Failure (MTBF) หรือ เวลาเฉลี่ยที่เครื่องจักรเดินได้ก่อนที่จะเสีย
เวลาเฉลี่ยที่เครื่องจักรสามารถเดินได้โดยที่ไม่เสีย

ค่านี้เป็นการบ่งชี้ว่า เครื่องจักรมีความน่าเชื่อถือ ได้มากน้อยเท่าไร หากมีค่ามาก ก็แสดงว่าเครื่องจักรนั้น นานๆ จึงจะเสียครั้งหนึ่ง แต่หากค่า MTBF มีค่าน้อย ก็หมายความว่า เครื่องจักรมีเกณฑ์การเสีย ที่เกิดขึ้นบ่อย
หากนำค่า MTTR และ MTBF มาพิจารณาร่วมกัน หากพบว่า
MTBF น้อย MTTR มาก หมายความว่าเครื่องจักรเสียบ่อยและใช้เวลาในการซ่อมนาน
MTBF น้อย MTTR น้อย หมายยความว่า เครื่องจักรเสียบ่อยแต่ซ่อมได้อย่างรวดเร็ว
MTBF มาก MTTR มาก หมายความว่า เครื่องจักรเสียน้อยแต่เสียแล้วซ่อมได้ยาก
MTBF มาก MTTR น้อย หมายความว่า เครื่องจักรเสียน้อยเมื่อเสียก็ซ่อมได้เร็ว
การพิจารณาค่า MTBF และ MTTR เป็นค่าที่ใช้ ในเชิงวัดผลเปรียบเทียบ การพัฒนาโดยดูว่า ค่านี้มีแนวโน้มอย่างไร ดีขึ้น หรือแย่ลง แล้วแย่ลงเกิดขึ้นจากเรื่องใด MTBF หรือ MTTR และเครื่องจักรตัวใด เป็นตัวที่มีปัญหามากที่สุดกิจกรรมใดใน 8 กิจกรรม ที่เกิดขึ้นระหว่างที่เครื่องจักรเสียนั้น ใช้เวลามากที่สุด และลงมือจัดการ ตามความเหมาะสม

Conform to Preventive Maintenance Plan หรือ ความตรงตามแผน
เป็นการคำนวน จำนวนงานที่แผนไว้ว่าจะเข้าไปดำเนินการกับจำนวนงานที่ทำได้ทั้งหมด

หากค่านี้มาก นั่นหมายความว่า งานที่เราได้กำหนดลงไปให้ทำนั้น ได้ทำออกมา ตามที่กำหนดไว้มาก อาจเกิดจากจำนวนงาน วางแผนน้อยเกินไป หรือจำนวนช่างมากกว่างาน แต่หากน้อย อาจหมายถึงจำนวนช่าง ไม่พองาน หรือช่างอาจไปทำงาน ที่ไม่ได้วางแผนไว้ นั่นก็คือการวางแผนงาน อาจไม่สอดคล้อง กับความเป็นจริง
Breakdown per Preventive Maintenance หรือ สัดส่วนงานซ่อมฉุกเฉินต่องานวางแผน
คำนวนจาก

หากมีค่ามาก ก็อาจหมายถึง งานส่วนใหญ่เป็นงานซ่อม เนื่องจากเครื่องเสียฉุกเฉิน ช่างต้องทำงานแบบพนักงานดับเพลิง หากมีค่าน้อย ก็แสดงว่า เราสามารถควบคุมเครื่องจักรเสียได้ดี แต่ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง อาจสูงตามไปด้วยก็ได้
Reliability หรือ ความน่าเชื่อถือของเครื่องจักร
ค่านี้เป็นการคำนวนจากเวลาที่เครื่องจักรเสีย ไม่สามารถเดินได้ โดยไม่รวมเวลาที่เครื่องจักรหยุดเนื่องจากปัจจัยภายนอก เช่นไฟฟ้าดับกระทันหัน แผ่นดินไหว น้ำท่วมเป็นต้น

Quality

Yield หรือ อัตราของดี
มีความหมายถึงสัดส่วนของดี Yield สามารถแบ่งพิจารณาได้ 2 แบบ คือ
Off Machine Yield หรือ อัตราของดี ที่เกิดขึ้นในตอนที่เครื่องจักร ทำการเดินเครื่อง โดยคิดเฉพาะ ที่ออกจากเครื่อง และสามารถส่งเข้าคลังสินค้า หรือ ขายได้โดยตรง นั่นคือไม่รวมเอาสินค้า ที่ไม่แน่ใจหรือ hold เข้ามารวมด้วย หรือกล่าวอีกอย่างว่า นับเฉพาะที่ “right first time” เท่านั้น

Yield หรือ อัตราของดีที่เกิดขึ้น หลังจากที่ทำการตรวจสอบส่วนที่ hold ไว้เสร็จสิ้นแล้ว และนำเข้ามารวมกับของที่ผลิตได้ เป็นของดีในตอนแรกแล้ว

การคำนวน Yield อาจคำนวนจาก Output / Input หรือสัดส่วนของสิ่งที่ได้ออกมา ต่อทรัพยากรที่ใช้ไป เช่น
Yield ของปริมาณผลิตภัณฑ์ที่ออกมา ต่อ วัตถุดิบที่ใช้

Customer Complain หรือ เรื่องร้องเรียนจากลูกค้า
เป็นจำนวนเรื่องที่ลูกค้าร้องเรียนเข้ามา ถึงตัวผลิตภัณฑ์ หรือบริการของเราที่ได้ส่งไปให้ลูกค้า สามารถมองได้หลายมุมเช่น เรื่องร้องเรียกเกี่ยวกับคุณภาพ เรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับความเสียหาย ของผลิตภัณฑ์ที่ส่งไป หรือเรื่องของการส่งของตรงเวลาหรือไม่
การคำนวณโดยมาก ใช้เป็นจำนวนเรื่องร้องเรียน ที่เข้าในแต่ละช่วงเวลา เช่น จำนวนเรื่องร้องเรียน ในแต่ละเดือนเป็นต้น
แต่เรายังสามารถคำนวณ เป็นจำนวนเรื่องต่อจำนวนการส่งมอบก็ได้ เช่น จำนวนเรื่องร้องเรียน ต่อพันชิ้นที่ส่งมอบ หรือ จำนวนเรื่องร้องเรียน ต่อตารางเมตรที่ผลิตก็ทำได้เช่นกัน ทั้งนี้เราใช้ตัวชี้วัดนี้ ในแง่ของแนวโน้มของปัญหาว่ารุงแรงมากขึ้น หรือไม่เมื่อเทียบกับที่ผ่านมา
Cost

Cost per Unit หรือ ต้นทุนต่อหน่วยผลิต
เป็นที่ทราบกับแล้วว่า ต้นทุนมีทั้งแบบ ผันแปร และ คงที่ ในการผลิตนั้นมีทั้ง 2 ต้นทุนนี้เสมด ดังนั้นในการคำนวนต้นทุนใดๆ ก็ตาม ต้องทำการคำนวณต้นทุนที่เกิดขึ้น ที่เป็นต่อหน่วยที่ผลิตได้ เช่น ต้นทุน/ชิ้น ต้นทุน / ตารางเมตร ต้นทุน / กิโลกรัม เป็นต้น
Maintenance Cost per Unit หรือ ต้นทุนที่เกิดขึ้นจากค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาต่อหน่วยการผลิต
ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษานั้น หมายถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมด ที่เกิดในกิจกรรมบำรุงรักษา ไม่ว่าจะเป็นค่าอะไหล่ที่ใช้ไป ค่าแรงพนักงาน ค่าแรงผู้รับเหมา ค่าส่งเครื่องจักรไปทำการ Overhaul ค่าเสื่อมราคาเครื่องมือ ที่ใช้ในการซ่อม เป็นต้น คิดรวมกันแล้วหารด้วยหน่วยที่ผลิตได้

Energy Usage per Unit หรือ พลังงงานที่ใช้ต่อผลิภัณฑ์ที่ผลิต
เป็นการคำนวณ ถึงจำนวนพลังงานที่ใช้ไป หน่วยอาจเป็น MMBTU หรือ Kw หรือ MJ ก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดของพนังงาน และจำนวนหน่วยที่ใช้ไป ในการคำนวณนี้ จะนำมาเฉพาะจำนวนพลังงานที่ใช้ไปเท่านั้น โดยไม่นำเอาราคามารวมคำนวนด้วย เนื่องจากราคาของพลังงาน มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

ทั้งนี้หากสามารถที่จะแยกแยะออกเป็น เครื่องจักร หรือกระบวนการได้ ก็จะเป็นการดีต่อการบริหารจัดการ ได้ง่ายขึ้น ค่านี้จะเป็นค่าที่เราใช้ ในการดูแนวโน้มของการใช้ เมื่อเทียบกับอดีตที่ผ่านมา ว่าดีขึ้นหรือแย่ลงอย่างไร
Man Power per Unit หรือ จำนวนชั่วโมงแรงงานต่อหน่วยผลิต
เป็นค่าที่บอกถึงการใช้แรงงาน ในการผลิตต่อหน่วย ซึ่งการคำนวณนี้อาจคำนวณเฉพาะพนักงาน ที่ทำงานในการผลิตโดยตรง ก็จะเป็นแรงงานทางตรง หรือหากเราต้องการแรงงานทั้งหมด ก็จะรวมชั่วโมงแรงงานทั้งหมด ต่อหน่วยผลิต

แต่หากจำนวนที่ผลิต มีจำนวนมาก ก็จะคำนวนในทางกลับกันเป็น หน่วยผลิตต่อแรงงานที่ใช้หรือ Unit per Man Power หรือ

Overtime Usage per Unit หรือ จำนวนการทำล่วงเวลาต่อการผลิต
เป็นการคำนวณจำนวนชั่วโมง ของการทำล่วงเวลา ต่อการผลิตทั้งหมด เพื่อให้เราทราบว่าในการผลิตนั้น เราได้ใช้เวลาเกินกว่าเวลาปรกติไปมากน้อยเท่าไร ค่าล่วงเวลาเป็นค่าใช่จ่ายที่เราจ่ายมากขึ้น ในขณะเดียวกัน พนักงานก็ทำงานหนักขึ้นด้วย หากมากจนเกินไปจะส่งผลต่อการทำงานในเวลาปรกติได้เช่นกัน

Delivery

Stock Out หรือ ของขาดสต็อก
เป็นการนับจำนวนครั้ง ที่ไม่สามารถส่งของให้ลูกค้าได้ เนื่องจากไม่มีผลิตภัณฑ์ โดยคำนวนจาก

หรืออาจคำนวณเป็นมูลค่า ของจำนวนที่ส่งมอบไม่ได้เป็นเงิน หรือจำนวนของที่ไม่สามารถส่งมอบได้ เทียบกับจำนวนของ ของที่ต้องส่งทั้งหมด

Stock Accuracy หรือ ความแม่นยำของสต็อก
เป็นค่าที่บอกถึงความสามารถ ในการควบคุมสต็อก ว่ามีความแม่นยำมากน้อยเพียงใด ความแม่นยำของสต็อกนั้น อาจมองได้สองมุม คือ ความแม่นยำในเชิงปริมาณ กับ ความแม่นยำในเชิงของรายการที่ผิดพลาด ซึ่งต้องมองทั้ง 2 อย่างในเวลาเดียวกัน
ค่าทั้งสองนี้ อาจใช้ร่วมกัน ในการพิจารณาความแม่นของสต็อก คือใช้ในการพิจารณาว่าในเชิงปริมาณนั้น คิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ จึงถือว่าไม่แม่นยำ และมีกี่รายการที่เป็นเช่นนั้น เพื่อดูความรุนแรงของปัญหา

Cycle Time หรือรอบเวลา
เป็นเวลาที่ใช้ในการผลิตของ ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงเสร็จสิ้น หากเวลานี้มีค่าน้อย ก็หมายความว่า เราสามารถผลิตของได้เร็ว

Lead Time หรือ เวลานำ
เป็นเวลาตั้งแต่วัตถุดิบเริ่มเข้า จนกระทั่งได้เป็นผลิตภัณฑ์ออกมา ดังนั้เวลานำที่สั้นก็หมายความว่า สามารถแปลจากวัตถุดิบ เป็นผลิตภัณฑ์ได้เร็ว และทำให้มีโอกาสในการผลิตผลิตภัณฑ์ไ ด้มากชนิดขึ้น
Safety

Lost Time Accident หรือ อุบัติเหตุขั้นหยุดงาน
หมายถึง เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นแล้ว ผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุนั้น ไม่สามารถกลับมาทำงานได้ภายใน 24 ชั่วโมง

Medical Treatment Accident หรือ อุบัติเหตุขั้นพบแพทย์
หมายถึง เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นแล้ว ผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุ สามารถกลับมาทำงานได้ภายใน 24 ชั่วโมง และเมื่อเกิดอุบัติเหตุขั้นผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุ ต้องไปพบแพทย์ เพื่อทำการรักษา และแพทย์จ่ายยาให้
ค่าชี้วัดในทางความปลอดภัยนั้น จะการคำนวณเทียบกับจำนวนชั่งโมง – คน ของพนักงานที่ทำงานทั้งหมด เนื่องจากเมื่อจำนวนพนักงานมาก โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุ ก็จะมากขึ้นด้วย ดังนั้น

Moral

Suggestion หรือจำนวนข้อเสนอแนะ
ในการวัดนี้ จะเป็นการวัดจำนวนเรื่องที่เสนอขึ้นมา โดยพนักงาน ทั้งนี้จะนับเป็นจำนวนเรื่อง ต่อพนักงานทั้งหมด
การขาดงาน
เป็นการวัดว่าพนักงานมาทำงาน ตามที่กำหนดไว้ หรือไม่ หากการขาดงาน มีมากทำให้ผู้บริหารไม่สามารถทำการบริหารการผลิตได้ เนื่องจากขาดปัจจัยในการผลิตคือคนไปก็ได้ การขาดงาน อาจสะท้อนถึงสภาพ ของสถานที่ทำงาน ว่ามีสภาพที่เหมาะสม ต่อการทำงาน หรือไม่ หากพนักงานขาดงานมากๆ ก็เป็นได้ว่า พนักงานอาจมีปัญหาเรื่องของสุขภาพได้

back to TOP