หากเราคิดว่าการดำเนินการ กิจกรรมต่างๆ จะมีความขัดแย้งซึ่งกัน และกัน ดังนั้นในการดำเนินกิจกรรมใดๆ ก็ตามต้องทำทีละเรื่อง และต้องเลือกให้ได้ว่าจะใช้กิจกรรมใดในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต หากเราพิจารณาถึงกิจกรรม ISO 9001:2000 กับกิจกรรม TPM ให้ดี เราจะพบว่าเป็นกิจกรรมที่มีความสอดคล้องกัน และส่งเสริมซึ่งกันและกัน ตารางข้างล่าง เป็นการเปรียบเทียบ ระหว่างหลักการทั้ง 8 ของ ISO 9001:2000 (8 Principle of ISO90001:2000) ซึ่งเป็นหัวใจของ ระบบ ISO9001:2000 กับ TPM

หลักการของ ISO9001:2000 TPM
1.Customer focused
“องค์การทั้งหลาย ขึ้นอยู่กับลูกค้า ดังนั้นจึงจำเป็น ต้องเข้าใจความต้องการของลูกค้า ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต เพื่อให้บรรลุ ซึ่งข้อกำหนดของลูกค้า และผลักดันให้สามารถ ตอบสนองความคาดหวังของลูกค้า ”
เทียบได้กับ วัตถุประสงค์ข้อที่ 2, 3 คือการที่ให้ตั้งแต่ ผู้บริหารถึงพนักงาน มีมุมมองที่มุ่งเน้นถึง สิ่งที่ลูกค้าต้องการทั้งนี้ หากมองให้ลึกลงไป ความเป็นลูกค้านี้ มีทั้งลูกค้าภายใน และภายนอก ซึ่งหากมองที่ลูกค้าภายใน ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลง การทำงานของเรา
2.Leadership
“กลุ่มผู้นำขององค์กร จัดให้มีความเป็นเอกภาพ ระหว่างวัตถุประสงค์ และทิศทางขององค์การ โดยควรจะจัดให้มีและคงไว้ ซึ่งสภาพแวดล้อม ภายในองค์กร ในลักษณะที่พนักงานขององค์กรสามารถ มีส่วนร่วมต่อการดำเนินงาน ขององค์กร ให้ประสบความสำเร็จ ตามวัตถุประสงค์”
เทียบได้กับ วัตถุประสงค์ข้อที่ 2, 3
ทุกส่วนงาน ต้องมีการดำเนินการที่ขับเคลื่อน ไปในทิศทางเดียวกัน ให้สอดคล้องกันทั้งองค์กร โดยการกำหนด KPIs และทำการปรับปรุงงาน เพื่อให้สำเร็จในแต่ละ KPIs
3.Involvement of people
“พนักงานทุกระดับ คือปัจจัยสำคัญขององค์การ และการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ ของพนักงานทั้งหมด ทำให้เขาเหล่านั้น ได้ใช้ความสามารถ เพื่อประโยชน์ขององค์การ”
เทียบได้กับ วัตถุประสงค์ข้อที่ 2, 3
พูดเรื่องเดียวกัน
4.Process approach
“ผลลัพธ์ ซึ่งเป็นที่ต้องการ จะสัมฤทธิ์ผล อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เมื่อทรัพยากร และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง ได้รับการบริหารเป็นกระบวนการ”
เทียบได้กับ วัตถุประสงค์ข้อที่ 2
เป็นเรื่องของผู้บริหาร ต้องจัดหาทรัพยากรต่างๆ ให้เพียงพอ เพื่อให้เกิดการดำเนินการที่คล่องตัว
5.System approach of management
“การชี้บ่ง การมีความเข้าใจ และการบริหาร ระบบของกระบวนการ ที่สัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน สำหรับวัตถุประสงค์ เฉพาะแต่ละอย่าง จะทำให้องค์กร บังเกิดความมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น”
เทียบได้กับ วัตถุประสงค์ข้อที่ 1, 4,5
ลงความสูญเสียลง เพิ่มทักษะ ของพนักงาน และมุ่งสู่การเป็นผู้ผลิตระดับโลก
6.Continual improvement
“การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ควรจะนำไปกำหนดเป็น วัตถุประสงค์ที่ถาวรขององค์การ”
เทียบได้กับ วัตถุประสงค์ข้อที่ 1
ปรับไปสู่การลดความสูญเสียต่างๆ ลง
7.Factual approach to decision making
“การตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ ตั้งอยู่บนพื้นฐาน ของข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์ และสารสนเทศ ”
เทียบได้กับ วัตถุประสงค์ข้อที่ 1
ต้องใช้ หลักของ 5G เรื่องของความจริง 5 จริง
8.Mutually beneficial supplier relationships
“องค์กร กับผู้ส่งมอบ มีความเป็นอิสระ และการมีสัมพันธภาพ ที่อยู่บนพื้นฐาน ของการมีผลประโยชน์ ที่เสมอภาคต่อกัน อันเป็นการส่งเสริม ความสามารถของทั้งสองฝ่าย เพื่อการสร้างสรรค์สิ่งที่มีคุณค่า”
เทียบได้กับ วัตถุประสงค์ข้อที่ 2,5
เพราะการดำเนินการ ต้องใช้ทรัพยากรทั้งสิ่ง การได้มาซึ่งทรัพยากรที่ว่า ก็ต้องได้มาอย่างถูกต้อง และยุติธรรมกันทั้งผู้ซื้อ และผู้ขาด ดังนั้นจึงต้องให้พนักงานทุกคน เข้าใจการเป็นลูกค้าภายใน และตอบสนองต่อลูกค้าภายใน เพื่อให้เกิดความพึงพอใจที่สุด และหากเป็นลูกค้าภายนอก และสังคส สิ่งแวดล้อมเราก็ต้องไปสู่การเป็นผู้ผลิตระดับโลกเพื่ออยู่ร่วมกับสังคม ชุมชนให้ได้

ประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่งคือ ISO9001:2000 เป็นพื้นฐานที่สำคัญ ในการดำเนินการ TPM เพราะว่าหัวใจสำคัญ ในการกำหนดการดำเนินการ ที่เป็นมาตรฐาน ซึ่งหากการทำงานใดๆ ก็ตาม ไม่สามารถที่จะดำเนินการ ให้เป็นมาตรฐานแล้ว เราก็ไม่สามารถ ที่จะทำการหาสาเหตุ ของปัญหาเพื่อแก้ไข หรือพัฒนาต่อไปได้อีกเลย สมมุติว่าเราทำงาน 3 กะต่อวัน แต่ละกะมีพนักงาน ที่ทำงานต่างกัน ในระหว่างที่ส่งมอบกะหารทำงานกัน พนักงานกะใหม่ ก็เข้ามาตรวจดูการทำงาน และพบว่าจุดนั้นปรับไว้ ไม่ถูกต้อง ทำการปรับแก้ไข จุดนี้ปรับไว้มากเกินไปก็ปรับแก้ไข จนได้ตามที่ตนเองต้องการ พออีกกะเข้ามาทำงาน ก็พบแบบเดียวกัน แต่ปัญหาก็ยังอยู่ในอัตราเดิม หากเป็นเช่นนี้การแก้ไขของเรา ก็คงเป็นไปได้ยาก ดังนั้นไม่ว่าอย่างไรก็ตาม การทำงานของพนักงาน ต้องทำงานแบบเดียวกัน หากพบว่ามีปัญหา ก็สามารถที่จะทำการแก้ไขได้งาน นั้นคือทำตามที่เขียน และเขียนตามที่ทำ ทำให้เป็นมาตรฐานเดียวกันตาม ISO9001:2001 และในทางกลับกัน การทำงานก็ต้องมีการพัฒนา ก็สามารถใช้ TPM เป็นตัวเดิน ในการพัฒนาต่อไปได้ เพื่อสร้างมาตรฐานการทำงานใหม่ และเพื่อให้เกิดการร่วมมือ ร่วมใจในการดำเนินการ ดังนั้นหากจะเลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยปฏิเสธอีกกย่างหนึ่ง ก็คงไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้อง อย่างลืมว่า เราต้องการอยู่ให้รอด ในการแข่งขันที่รุนแรงนี้ “แมวจะดำหรือขาวหากจับหนูได้ก็คือแมวที่ดี” ฉันใด “กิจกรรมจะชื่ออะไร หากทำให้พนักงานร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ ได้ ก็ทำไปเถอะ”