หากเราคิดว่าการดำเนินการ กิจกรรมต่างๆ จะมีความขัดแย้งซึ่งกัน และกัน ดังนั้นในการดำเนินกิจกรรมใดๆ ก็ตามต้องทำทีละเรื่อง และต้องเลือกให้ได้ว่าจะใช้กิจกรรมใดในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต หากเราพิจารณาถึงกิจกรรม ISO 9001:2000 กับกิจกรรม TPM ให้ดี เราจะพบว่าเป็นกิจกรรมที่มีความสอดคล้องกัน และส่งเสริมซึ่งกันและกัน ตารางข้างล่าง เป็นการเปรียบเทียบ ระหว่างหลักการทั้ง 8 ของ ISO 9001:2000 (8 Principle of ISO90001:2000) ซึ่งเป็นหัวใจของ ระบบ ISO9001:2000 กับ TPM
หลักการของ ISO9001:2000 | TPM |
1.Customer focused “องค์การทั้งหลาย ขึ้นอยู่กับลูกค้า ดังนั้นจึงจำเป็น ต้องเข้าใจความต้องการของลูกค้า ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต เพื่อให้บรรลุ ซึ่งข้อกำหนดของลูกค้า และผลักดันให้สามารถ ตอบสนองความคาดหวังของลูกค้า ” |
เทียบได้กับ วัตถุประสงค์ข้อที่ 2, 3 คือการที่ให้ตั้งแต่ ผู้บริหารถึงพนักงาน มีมุมมองที่มุ่งเน้นถึง สิ่งที่ลูกค้าต้องการทั้งนี้ หากมองให้ลึกลงไป ความเป็นลูกค้านี้ มีทั้งลูกค้าภายใน และภายนอก ซึ่งหากมองที่ลูกค้าภายใน ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลง การทำงานของเรา |
2.Leadership “กลุ่มผู้นำขององค์กร จัดให้มีความเป็นเอกภาพ ระหว่างวัตถุประสงค์ และทิศทางขององค์การ โดยควรจะจัดให้มีและคงไว้ ซึ่งสภาพแวดล้อม ภายในองค์กร ในลักษณะที่พนักงานขององค์กรสามารถ มีส่วนร่วมต่อการดำเนินงาน ขององค์กร ให้ประสบความสำเร็จ ตามวัตถุประสงค์” |
เทียบได้กับ วัตถุประสงค์ข้อที่ 2, 3 ทุกส่วนงาน ต้องมีการดำเนินการที่ขับเคลื่อน ไปในทิศทางเดียวกัน ให้สอดคล้องกันทั้งองค์กร โดยการกำหนด KPIs และทำการปรับปรุงงาน เพื่อให้สำเร็จในแต่ละ KPIs |
3.Involvement of people “พนักงานทุกระดับ คือปัจจัยสำคัญขององค์การ และการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ ของพนักงานทั้งหมด ทำให้เขาเหล่านั้น ได้ใช้ความสามารถ เพื่อประโยชน์ขององค์การ” |
เทียบได้กับ วัตถุประสงค์ข้อที่ 2, 3 พูดเรื่องเดียวกัน |
4.Process approach “ผลลัพธ์ ซึ่งเป็นที่ต้องการ จะสัมฤทธิ์ผล อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เมื่อทรัพยากร และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง ได้รับการบริหารเป็นกระบวนการ” |
เทียบได้กับ วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เป็นเรื่องของผู้บริหาร ต้องจัดหาทรัพยากรต่างๆ ให้เพียงพอ เพื่อให้เกิดการดำเนินการที่คล่องตัว |
5.System approach of management “การชี้บ่ง การมีความเข้าใจ และการบริหาร ระบบของกระบวนการ ที่สัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน สำหรับวัตถุประสงค์ เฉพาะแต่ละอย่าง จะทำให้องค์กร บังเกิดความมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น” |
เทียบได้กับ วัตถุประสงค์ข้อที่ 1, 4,5 ลงความสูญเสียลง เพิ่มทักษะ ของพนักงาน และมุ่งสู่การเป็นผู้ผลิตระดับโลก |
6.Continual improvement “การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ควรจะนำไปกำหนดเป็น วัตถุประสงค์ที่ถาวรขององค์การ” |
เทียบได้กับ วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ปรับไปสู่การลดความสูญเสียต่างๆ ลง |
7.Factual approach to decision making “การตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ ตั้งอยู่บนพื้นฐาน ของข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์ และสารสนเทศ ” |
เทียบได้กับ วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ต้องใช้ หลักของ 5G เรื่องของความจริง 5 จริง |
8.Mutually beneficial supplier relationships “องค์กร กับผู้ส่งมอบ มีความเป็นอิสระ และการมีสัมพันธภาพ ที่อยู่บนพื้นฐาน ของการมีผลประโยชน์ ที่เสมอภาคต่อกัน อันเป็นการส่งเสริม ความสามารถของทั้งสองฝ่าย เพื่อการสร้างสรรค์สิ่งที่มีคุณค่า” |
เทียบได้กับ วัตถุประสงค์ข้อที่ 2,5 เพราะการดำเนินการ ต้องใช้ทรัพยากรทั้งสิ่ง การได้มาซึ่งทรัพยากรที่ว่า ก็ต้องได้มาอย่างถูกต้อง และยุติธรรมกันทั้งผู้ซื้อ และผู้ขาด ดังนั้นจึงต้องให้พนักงานทุกคน เข้าใจการเป็นลูกค้าภายใน และตอบสนองต่อลูกค้าภายใน เพื่อให้เกิดความพึงพอใจที่สุด และหากเป็นลูกค้าภายนอก และสังคส สิ่งแวดล้อมเราก็ต้องไปสู่การเป็นผู้ผลิตระดับโลกเพื่ออยู่ร่วมกับสังคม ชุมชนให้ได้ |
ประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่งคือ ISO9001:2000 เป็นพื้นฐานที่สำคัญ ในการดำเนินการ TPM เพราะว่าหัวใจสำคัญ ในการกำหนดการดำเนินการ ที่เป็นมาตรฐาน ซึ่งหากการทำงานใดๆ ก็ตาม ไม่สามารถที่จะดำเนินการ ให้เป็นมาตรฐานแล้ว เราก็ไม่สามารถ ที่จะทำการหาสาเหตุ ของปัญหาเพื่อแก้ไข หรือพัฒนาต่อไปได้อีกเลย สมมุติว่าเราทำงาน 3 กะต่อวัน แต่ละกะมีพนักงาน ที่ทำงานต่างกัน ในระหว่างที่ส่งมอบกะหารทำงานกัน พนักงานกะใหม่ ก็เข้ามาตรวจดูการทำงาน และพบว่าจุดนั้นปรับไว้ ไม่ถูกต้อง ทำการปรับแก้ไข จุดนี้ปรับไว้มากเกินไปก็ปรับแก้ไข จนได้ตามที่ตนเองต้องการ พออีกกะเข้ามาทำงาน ก็พบแบบเดียวกัน แต่ปัญหาก็ยังอยู่ในอัตราเดิม หากเป็นเช่นนี้การแก้ไขของเรา ก็คงเป็นไปได้ยาก ดังนั้นไม่ว่าอย่างไรก็ตาม การทำงานของพนักงาน ต้องทำงานแบบเดียวกัน หากพบว่ามีปัญหา ก็สามารถที่จะทำการแก้ไขได้งาน นั้นคือทำตามที่เขียน และเขียนตามที่ทำ ทำให้เป็นมาตรฐานเดียวกันตาม ISO9001:2001 และในทางกลับกัน การทำงานก็ต้องมีการพัฒนา ก็สามารถใช้ TPM เป็นตัวเดิน ในการพัฒนาต่อไปได้ เพื่อสร้างมาตรฐานการทำงานใหม่ และเพื่อให้เกิดการร่วมมือ ร่วมใจในการดำเนินการ ดังนั้นหากจะเลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยปฏิเสธอีกกย่างหนึ่ง ก็คงไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้อง อย่างลืมว่า เราต้องการอยู่ให้รอด ในการแข่งขันที่รุนแรงนี้ “แมวจะดำหรือขาวหากจับหนูได้ก็คือแมวที่ดี” ฉันใด “กิจกรรมจะชื่ออะไร หากทำให้พนักงานร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ ได้ ก็ทำไปเถอะ”