Related Posts
Project Management
Project Management การบริหารจัดการงานโครงการนั้น ผู้จัดการโครงการทุกคนล้วนมุ่งหวังที่จะจัดการงานโครงการนั้นๆได้บรรลุเป้าหมายหลัก 3 ประการคือ 1. ทำงานโครงการนั้นในทันเวลา (Time) 2. ทำงานโครงการนั้นให้ได้ผลตอบแทนคุ้มค่าภายในต้นทุนที่ต่ำที่สุด (Cost) 3. ทำงานให้บรรลุขอบเขตของเป้าหมายอย่างมีคุณภาพ (Scope goal) หลักสูตรนี้เสนอความรู้ที่มีประโยชน์สำหรับใช้ในการบริหารและการวางแผนโครงการ ตั้งแต่เริ่มต้น จนกระทั่งสิ้นสุดโครงการ วิชานี้ครอบคลุมถึงการจัดองค์กร ข้อกำหนดพื้นฐาน เทคนิคและ วิธีการต่าง ๆ ในการบริหารโครงการ การบริหารการเงิน การวิเคราะห์การหมุนเวียนของเงิน (Cash flow analysis) เทคนิคการวางแผนและควบคุมโครงการ เช่น Critical Path Method (CPM) ซึ่งการที่เราจะสามารถบริหารโครงการให้ได้ผลดังกล่าว ย่อมขึ้นกับปัจจัยแวดล้อมมากมาย (Project Variables) โดยต้องพึ่งการวางแผนที่ดี เพื่อนำสู่การสร้างระบบงาน Workflowงานที่รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และจัดตารางการควบคุมทั้งด้านต้นทุนและคุณภาพได้เป็นอย่างดี ภายใต้ความเสี่ยงต่างๆ ซึ่งโปรแกรมหลักสูตรนี้จึงต้องการให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจหลักในการบริหารโครงการให้บรรลุประสิทธิผลทั้ง 3 ด้านดังกล่าวได้อย่างแท้จริง ตลอดทั้งในการบริหารโครงการตั้งแต่เริ่มต้นวางแผน จนถึงแนวทางการทำงานปฏิบัติการจริง บริหารทีมโครงการ ควบคุมโครงการ ประเมินผล จนจบโครงการ ในโปรแกรมหลักสูตร Effective Project Management มีรายละเอียดของหลักสูตรดังนี้ หลักการบริหารโครงการ : การกำหนดและวางแผนโครงการ Objective 1) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจแนวคิดของการบริหารโครงการอย่างเป็นระบบ 2) เรียนรู้การบริหารโครงการให้เกิดประสิทธิผลอย่างเป็นขั้นเป็นตอนทั้ง 5 เฟส 3) ให้ผู้เข้าอบรมสามารถกำหนดโครงการ เป้าหมาย และวางแผนโครงการได้ 4) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถบริหารเวลาให้ทันตามกำหนด และจัดขั้นตอนในการบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้สามารถคำนวณและบริหารต้นทุนของโครงการ ได้อย่างมีหลักการ หลักการบริหารโครงการ: การดำเนินโครงการและการประเมิน Objective 1) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจหลักการนำแผนโครงการมาสู่การปฏิบัติที่มีประสิทธิผลได้ 2) รู้จักการบริหารคน บริหารทีมโครงการ ให้การทำงานจริงในโครงการประสบความสำเร็จ 3) สามารถติดตามงาน ควบคุมโครงการ และประเมินโครงการ ได้อย่างมีประสิทธิผล 4) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รู้จักการคำนึงถึงความเสี่ยงของโครงการ และวิธีการบริหารจัดการความเสี่ยงโครงการ 5) ให้ผู้เข้าอบรมสามารถประเมินโครงการได้อย่างมืออาชีพ และจบโครงการให้ได้ตามเป้าหมาย Course Outline – แนะนำเกี่ยวกับ Project Management กับบริหารที่มีประสิทธิภาพ – การแบ่งการบริหารโครงการเป็น 5 เฟส • การเริ่มโครงการ (Project Definition) • การวางแผนโครงการ (Project Planning) • การดำเนินงานและการจัดลำดับงานในโครงการ (Project Scheduling) – ความสำเร็จหรือล้มเหลววัดได้จากเป้าประสงค์ 3 ด้าน (เวลา, ขอบเขต,งบประมาณค่าใช้จ่าย) – เรียนรู้การวางแผน การจัดงานย่อย (Work Breakdown Structure) – การจัดตารางความรับผิดชอบ (Linear Responsibility Matrix) • การตรวจติดตามและควบคุมโครงการ (Project Monitoring and... Read more →
FMEA
FMEA หลักสูตรที่อธิบายการนำใช้เครื่องมือ FMEA และเทคนิคต่างๆในการบ่งชี้ความล้มเหลวที่เป็นไปได้ เนื้อหาหลักสูตรเน้นถึงการเชื่อมโยงและผลกระทบของปัญหาต่าง ๆ นอกจากนั้น ยังมุ่งเน้นการทำงานเป็นทีมและการแจกแจงการวิเคราะห์แบบแผนผังต้นไม้ (Tree Diagram) โดยรวมแล้วเป็นหลักสูตรที่สร้างความเข้าใจในหลักการและการนำไปปฏิบัติจริง วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างความเข้าใจในเทคนิคหลักของ FMEA 2. สามารถนำใช้เทคนิคนี้พร้อมกับเครื่องมืออื่นๆ เช่น FMEA, Control Plan อย่างมีประสิทธิภาพ 3. เพื่อเข้าใจการวิเคราะห์ถึงผลกระทบของปัญหา หัวข้อที่บรรรยาย FMEA คืออะไร ? 1. วัตถุประสงค์และขอบเขตของการใช้เครื่องมือ FMEA 2. Design FMEA – ข้อมูลดิบที่จำเป็นใน FMEA – รูปแบบมาตรฐาน, รายการวิเคราะห์และความล้มเหลวที่เป็นไปได้, ผลกระทบของความล้มเหลว, ดัชนีความรุนแรงและการจัดกลุ่มความสำคัญ, สาเหตุของความล้มเหลว, ดัชนีโอกาสในการเกิดของสาเหตุ, มาตรการการควบคุมการออกแบบปัจจุบัน, ดัชนีการตรวจจับ, ดัชนีจัดลำดับความเสี่ยง (Risk Priority Number), มาตรการที่แนะนำและการแก้ไข, ดัชนีจัดลำดับความเสี่ยงที่ได้รับการปรับปรุง, การเชื่อมโยงผลจาก FMEA กับเอกสารอื่นๆ เช่น Control Plan, Inspection Standard, Operator Instruction วิธีการบรรยาย บรรยาย และแบบฝึกหัดในชั้นเรียน คุณสมบัติผู้เข้าสัมมนา หัวหน้างาน, วิศวกร, เจ้าหน้าที่ประกันคุณภาพ, ผู้จัดการ ระยะเวลา 1 วัน Read more →
การบริหารงานบำรุงรักษาเพื่อเพิ่มกำไร
การบริหารงานบำรุงรักษาเพื่อเพิ่มกำไร การบำรุงรักษา ทุกคนมองว่าเป็นงานที่มีแต่ค่าใช้จ่าย เป็นจุดใช้เงิน ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่จะทำให้งานบำรุงรักษา เป็นงานที่สร้างกำไร ให้กับหน่วยงานของท่าน การจัดการบำรุงรักษาที่ดี เป็นการสร้างผลกำไรให้กับหน่วยงานของท่าน มากกว่าที่คิดไว้มากมาย หลักสูตรเป็นบทสรุป ของงานบำรุงรักษาทั้งหมดที่ต้องมี เพื่อให้ท่านสามารถนำไปใช้ ในการสร้างกำไรให้กับหน่วยงานของท่าน ได้อย่างมีนัยสำคัญ วัตถุประสงค์ เพื่อให้เข้าใจประเภทของงานบำรุงรักษา เพื่อให้เข้าใจความสูญเสียของเครื่องจักร เพื่อให้ทราบการจัดความสำคัญของเครื่องจักร เพื่อให้ทราบวิธีการจัดทำฐานข้อมูลของเครื่องจักร เพื่อให้ทราบวิธีการวัดสมรรถณะของงานบำรุงรักษา เพื่อให้ทราบค่าใช้จ่ายโดยรวมของเครื่องจักรและความสูญเสียของเครื่องจักร เพื่อให้ทราบหลักการการจัดทำงบประมาณการบำรุงรักษา หัวข้อการสัมมนา เครื่องเสียเกิดขึ้นได้อย่างไร ประเภทของงานบำรุงรักษา การจัดทำข้อมูลเครื่องจักร การจัดลำดับความสำคัญของเครื่องจักร การแบ่งระดับของเครื่องจักร ระบบการเก็บข้อมูลการบำรุงรักษา ดัชนีชี้วัดสมรรถณะงานบำรุงรักษา ค่าใช้จ่ายของการบำรุงรักษา การจัดทำแผนการบำรุงรักษา การจัดทำมาตรฐานการบำรุงรักษา การจัดการอะไหล่ ค่าใช้จ่ายของการบำรุงรักษากับความสูญเสียของการขาดการบำรุงรักษา การจัดการงบประมาณการบำรุงรักษา วิธีการสัมมนา การบรรยายตัวอย่าง คุณสมบัติผู้เข้าร่วมสัมมนา ผู้บริหารระดับสูง, ผู้บริหารงานซ่อมบำรุง, วิศวกร, หัวหน้างานซ่อมบำรุง, ผู้ประสานงาน TPM, ผู้ที่สนใจ ระยะเวลาสัมมนา 1 วัน วิทยากร บรรณวิท มณีเนตร Read more →
เคล็ดลับการจัดทำ KPI ให้ได้หัวใจของการผลิต
เคล็ดลับ…การจัดทำ KPI ให้ได้หัวใจของการผลิต รหัสหลักสูตร: P1006 สำหรับโรงงานที่ประสบปัญหา ไม่มีดัชนีวัดผลงาน หรือ KPI หรือมีแต่ไม่มีประสิทธิภาพ หลักสูตรนี้ จะทำให้ท่าน มองเห็นภาพรวม และความสำคัญของ KPI พร้อมทั้งสามารถจัดทำ KPI ประจำแผนกของตนเอง หรือสามารถจัดทำ KPI ประจำบุคคล ท่านจะสามารถออกแบบ KPI และสามารถปรับปรุงดัดแปลง KPI ต่างๆ เพื่อให้ใช้วัดผลงาน ที่สามารถสะท้อนถึงประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของการทำงานได้ ท่านจะรู้ถึงหลักการของการทำ Balance Score Card และสามารถนำ Balance Score Card ไปใช้งานได้จริงในหน่วยงานของตน วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจและเล็งเห็นถึงความสำคัญของการจัดทำ KPI เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรม สามารถมองเห็นภาพรวมการทำงานขององค์กร และทราบว่า ดัชนีวัดผลงาน มีส่วนช่วยให้ตนเอง หรือหน่วยงาน ประสบผลสำเร็จได้อย่างไร เพื่อให้ทราบถึงแนวทางการจัดทำ KPI เพื่อวัดผลงานประจำบุคคล ประจำแผนกหรือประจำหน่วยงาน เพื่อให้สามารถนำดัชนีวัดผลงานไปใช้ในการปรับปรุงหรือพัฒนาการทำงานขององค์กรได้ หัวข้อการสัมมนา บทนำองค์ประกอบการผลิตและต้นทุนการผลิต สมการธุรกิจและเป้าหมายของธุรกิจ กลยุทธ์ของธุรกิจและความสามารถในการแข่งขัน (เช่น หลักการของ PQCDSME) ความสูญเสียในการผลิต (ความสูญเสีย 16 ประการ) แนวคิดการจัดทำดัชนีวัดผลงาน (ตามแนวทางของอัตราผลิตภาพ Productivity) การจัดทำดัชนีวัดผลงานประจำแผนกต่างๆ ประจำบุคคล และ/หรือประจำหน่วยงาน การใช้ดัชนีวัดผลงานในการปรับปรุงการทำงาน (กรณีศึกษา) วิธีการสัมมนา การบรรยาย และจัดทำ Work Shop โดยผู้เข้าร่วมสัมมนา คุณสมบัติผู้เข้าร่วมสัมมนา หัวหน้าหน่วยงานหรือหัวหน้าแผนก, ผู้บริหารทุกระดับในองค์กร ระยะเวลาสัมมนา 1 วัน วิทยากร ดร. ชุมพล มณฑาทิพย์กุล Read more →
Autonomous Maintenance Workshop (In House Training)
ในการดำเนินการกิจกรรม TPM นั้น กิจกรรมที่เป็นเสาหลักเสาหนึ่งคือ Autonomous Maintenance หรือ AM ซึ่งการดำเนินการกิจกรรมนี้แบ่งออกเป็น 7 ขั้นตอนด้วยกัน แต่การดำเนินการ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงคือ 3 ขั้นตอนแรกของการดำเนินการกิจกรรม หลักสูตรนี้จะเป็นการนำเครื่องมือต่างๆ ในการดำเนินการกิจกรรม AM เข้ามาใช้อย่างเป็นระบบ และสร้างให้เห็นถึงความเชื่อมโยงกัน ในแต่ละเครื่องมือของการดำเนินการ โดยการจัดทำในลักษณะที่เป็น Workshop ที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าอบรมได้ฝึกลงมือปฏิบัติ และได้สัมผัสปัญหาในการดำเนินการอย่างแท้จริง วัตถุประสงค์ เพื่อให้เข้าใจหลักการการดำเนินการกิจกรรม TPM เพื่อให้เข้าใจหลักการของกิกรรม Autonomous Maintenance เพื่อให้เข้าใจขั้นตอนของการทำ AM ทั้ง 7 ขั้นตอน เพื่อให้เข้าใจการดำเนินการ AM ที่หน้างานกับเครื่องจักรจริง หัวข้อการสัมมนา วันแรก จุดมุ่งหมายของการดำเนินการกิจกรรม AM การวิเคราะห์ความเสี่ยงในการดำเนินการ การใช้งานและวิธีการเขียน One Point Lesson (OPL) การดำเนินการขั้นตอนที่ 1 คือ การทำความสะอาดเครื่องจักร ทำความเข้าใจหลักการทำงานของเครื่องจักร การใช้งาน Tag และวิธีการติด Tag การใช้งาน Know-how Sheet เพื่อการวิเคราะห์ปัญหา การลงมือทำความสะอาดเครื่องจักรจริง การจัดทำมาตรฐานขั้นต้น การจัดบอร์ดและนำเสนอผลงานการดำเนินกิจกรรม AM ขั้นตอนที่ 1 วันที่ สอง การดำเนินการขั้นตอนที่ 2 คือ การหาสาเหตุของความผิดปรกติ การลดเวลาในการทำความสะอาด การจัดทำมาตรฐานชั่วคราว การลงมือทำการแก้ไขปัญหาเครื่องจักรจริง การจัดบอร์ดและนำเสนอผลงานการดำเนินกิจกรรม AM ขั้นตอนที่ 2 วันที่ สาม การจัดทำมาตรฐานการหล่อลื่นทั่วทั้งองค์กร การดำเนินการขั้นตอนที่ 3 คือ การจัดทำมาตรฐานเบื้องต้น การจัดทำแผนการบำรุงรักษาด้วยตนเอง การจัดทำมาตรฐานการตรวจสอบเครื่องจักรจริง การจัดบอร์ดและนำเสนอผลงานการดำเนินกิจกรรม AM ขั้นตอนที่ 3 สรุปผลการดำเนินการและนำเสนอผลงานขั้นตอนที่ 1-3 ต่อผู้บริหาร วิธีการสัมมนา การบรรยาย Work Shop และตัวอย่างผลการดำเนินงานจริง คุณสมบัตผู้เข้าร่วมสัมนา ผู้บริหารระดับกลาง, ผู้บริหารระดับล่าง, หัวหน้างาน, พนักงานที่จะดำเนินกิจกรรม, ผู้ที่สนใจ ระยะเวลาสัมมนา 3 วัน (ต่อเนื่องกัน) วิทยากร ทีมงาน TPMthai.com หมายเหตุ ในการดำเนินการนี้ ผู้จัดต้องมีเครื่องจักรจริงให้ดำเนินการได้จริง โดยสามารถหยุดเครื่องจักรให้เข้าทำกิจกรรม ไม่น้อยกว่า 3 วันต่อเนื่อง และต้องมีจำนวนเครื่องจักรที่ทำกิจกรรม 1 เครื่อง ต่อ ผู้เข้าอบรม 10 คน ผู้จัดและที่ปรึกษาจะต้องจัดเตรียมแผนงานร่วมกันก่อนการดำเนินการอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ผู้จัดต้องจัดเตรียมเครื่องมือในการทำความสะอาด และ ช่างหรือวิศวกรเพื่อเป็นพี่เลี้ยงในการดำเนินการตลอดการดำเนินการกิจกรรม ผู้บริหารระดับสูงต้องสามารถเข้าร่วมในการฟังการนำเสนอผลงานในวันสุดท้ายได้ ผู้เข้าอบรมสามารถเข้าร่วมได้ไม่เกิน 30 คน Read more →