Value Engineering ( VE )
ความพยายามอย่างหนึ่งในการต่อสู้ของธุรกิจนั้นคือความพยายามที่จะขายให้ได้มากๆ ลด แลก แจก แถม และห้ำหั่นราคากันเข้าไปเพื่อถล่มคู่ต่อสู้ จนในที่สุดก็ต้องพังไปพร้อมๆกัน การขายให้ได้มากนั้นไม่ได้หมายความว่ากิจการจะทำกำไรได้มากเสมอไป หากขายได้มากแต่สินค้าไม่มีคุณค่าดีพอกับความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า หรือมีค่าใช้จ่ายสูงที่อาจจะมาจากสินค้าที่ดีเกินไป ก็ไม่สามารถแข่งขันได้เช่นกัน
ยังมีอีกหลายองค์กรที่ชาญฉลาดที่นอกจากจะใช้กลยุทธ์ทางด้านราคาที่สมเหตุสมผลเข้าสู้แล้ว ยังได้หันกลับมาพิจารณา ตรวจสอบตัวเองอยู่ตลอดเวลาว่าสิ่งที่กำลังทำอยู่นี้มันดีพอแล้วหรือไม่ องค์กรเหล่านี้จะพยายามที่จะเพิ่มคุณค่าของผลิตภัณฑ์หรือการบริการของตนไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่เริ่มต้นของการออกแบบเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความสูญเสียในขั้นตอนการผลิต และยังพยามยามที่จะลดความสิ้นเปลืองหลายอย่างลงไปเพราะมองเห็นว่าคุณค่าของผลิตภัณฑ์ที่กำลังทำอยู่นั้นมันไม่เหมาะสมทั้งในกรณีที่มากเกินไปและน้อยเกินไปเมื่อเทียบกับกระบวนการที่ใช้ในการผลิตหรือการบริการ
เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับกิจการระบบวิศวกรรมคุณค่า หรือ Value Engineering – VE ได้ถูกออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์นี้โดยเฉพาะ กิจการที่มีความรู้ในเรื่อง VE และนำลงไปใช้จะสามารถคงสภาพแห่งการแข่งขันไว้ได้อย่างงดงาม
วัตถุประสงค์:
– เพื่อองค์กรจะมีความรู้พื้นฐานและมีความเข้าใจในหลักการของ VE
– เพื่อสามารถสร้างรากฐานในองค์กรให้เข้มแข็งจากการนำเอาเทคนิคมากมายหลายประการในระบบ VE ไป
ประยุกต์ใช้
– เพื่อมีข้อมูลข่าวสารที่สำคัญในการฝึกฝนอบรมพนักงานให้สามารถปฏิบัติงานและมีทัศนคติที่ดีต่องาน
หัวข้อการอบรม:
1 พื้นฐานความเข้าใจในเรื่อง VE
2 เขานำ VE ไปใช้ประโยชน์อะไร?
3 ประวัติความเป็นมาของ VE
4 VE, VA และ VM เหมือนกัน หรือแตกต่างกัน?
5 กรอบแนวคิด และหลักการของ VE
6 ขั้นตอนหลักในการประยุกต์ใช้ VE
o ระยะเตรียมการ (Preparation Phase)
o ระยะรวบรวมข้อมูลข่าวสาร (Information Phase)
o ระยะวิเคราะห์หน้าที่งาน (Functional Analysis Phase)
o ระยะพิจารณา (Speculation or Creative Phase)
o ระยะประเมิน (Evaluation Phase)
o ระยะพัฒนา (Development Phase)
o ระยะนำเสนอผลงาน (Presentation Phase)
o ระยะติดตามผล (Follow-up Phase)
7 เครื่องมือของ VE
8 ปัญหาและอุปสรรคที่ต้องระวัง
คุณสมบัติของผู้เข้าสัมมนา ผู้บริหารทุกระดับที่มีความมุ่งมั่นจะพัฒนาองค์กร, บุคลากรในทีมงานที่มีหน้าที่ พัฒนาระบบงานให้มีประสิทธิภาพ, วิศวกรที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการพัฒนาระบบงาน
ระยะเวลาในการสัมมนา 1 วัน
รูปแบบการสัมมนา บรรยาย