การกำหนดหน้าที่ของงานและการประเมินค่างาน

โดยหลักของการบริหารจัดการขั้นพื้นฐานมีปัจจัยที่สำคัญ 7 ประการที่ทุกองค์กรจะขาดเสียไม่ได้คือ การวางแผน (Planning) การจัดองค์กร (Organizing) การจัดคนเข้าทำงาน (Staffing) การสั่งการ (Directing) การประสานงาน (Co-ordinating) การรายงาน (Reporting) และ การงบประมาณ (Budgeting) หรือที่เรียกกันจนติดปากในหมู่นักบริหารว่า POSTCoRB จริงอยู่กิจกรรมทั้งหลายเหล่านี้เป็นกิจกรรมที่แยกส่วนออกจากกัน แต่ก็เป็นกิจกรรมที่มีความเกี่ยวเนื่องกันโดยตลอด

ปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นในการบริหารจัดการคือความไม่ชัดเจนของแต่ละบุคคลว่าที่แท้จริงแล้ว พวกเขามีหน้าที่ต้องปฏิบัติงานอะไรบ้างในแต่ละวัน  ใครคือหัวหน้าโดยตรง  ใครมีอำนาจที่จะสั่งงานพวกเขา  และแท้ที่จริงแล้วพวกเขาต้องรายงานใครกันแน่  หลายองค์กรทีเดียวที่ไม่มีความชัดเจนในเรื่องนี้ทำให้การทำงานในหน้าที่ต่างๆเกิดความสับสน พนักงานไม่รู้หน้าที่ที่ตัวเองจะต้องทำ และมีมากที่หมดกำลังใจทำงานเพราะไม่รู้ว่าจะต้องฟังใครกันแน่

ยิ่งมาถึงระบบการบริหารจัดการในปัจจุบันที่มีความซับซ้อนขึ้นไปอีก  หลายองค์กรต่างก็นำเรื่องราวเกี่ยวกับการบริหารเชิงกลยุทธ์  หรือระบบการบริหารจัดการต่างๆมาใช้  ความชัดเจนในเรื่องของหน้าที่การทำงานอย่างเดียวตามที่ทำกันอยู่จัดว่าไม่เพียงพอ เพราะมีปัจจัยอื่นเพิ่มขึ้นมาอีกเช่นว่า เป้าหมายในการทำงาน หรือแม้กระทั่งในเรื่องของสมรรถนะ (Competency)

เอกสารชนิดหนึ่งที่ถือว่ามีความจำเป็นมากในการที่จะทำให้เกิดความชัดเจนในเรื่องเหล่านี้คือ “คำบรรยายลักษณะงาน (Job Description)” ที่มีใช้กันมานานแล้ว และในปัจจุบันได้มีการพัฒนาในรูปแบบที่สูงขึ้นไปอีก  จึงเป็นการเหมาะสมที่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จะได้มีความเข้าใจ เพื่อนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ

 

ประโยชน์ที่ได้รับ: 

– สามารถเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมขององค์กร

– สามารถนำไปประยุกต์จัดสร้างขึ้นในองค์กรได้

– บุคลากรสามารถเข้าใจหน้าที่ที่ตนต้องปฏิบัติ

หัวข้อการอบรม:

1. ความเข้าใจพื้นฐานของคำบรรยายลักษณะงาน (Job Description)

2. เหตุผลที่องค์กรต้องจัดทำคำบรรยายลักษณะงาน

3. ประเภทและรูปแบบของคำบรรยายลักษณะงาน

4. วิธีการจัดทำคำบรรยายลักษณะงาน

5. การนำดัชนีชี้วัดหลัก KPI มาประยุกต์ใช้ในคำบรรยายลักษณะงาน

6. การนำสมรรถนะ หรือ Competency มาประยุกต์ใช้ในคำบรรยายลักษณะงาน

7. ตัวอย่างของคำบรรยายลักษณะงาน

8. การนำคำบรรยายลักษณะงานไปใช้

9. ถาม – ตอบ ปัญหา

รูปแบบการสัมมนา                            บรรยาย และ workshop

คุณสมบัติของผู้เข้ารับการสัมมนา    ผู้บริหารที่ต้องการความชัดเจนในหน้าที่การทำงานของบุคลากร , พนักงานในฝ่ายทรัพยากรบุคคล ,บุคคลทั่วไปที่มีความสนใจ

ระยะเวลาในการสัมมนา                   1 วัน